จํานวนผู้เข้าชม

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ม้า

ม้า จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ม้า (แก้ความกำกวม) ม้า สถานะการอนุรักษ์ สัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์ การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Animalia ไฟลัม: Chordata ชั้น: Mammalia ชั้นย่อย: Theria Infraclass: Eutheria อันดับ: Perissodactyla วงศ์: Equidae สกุล: Equus สปีชีส์: E. ferus Subspecies: E. f. caballus ชื่อวิทยาศาสตร์ Equus ferus caballus Linnaeus, 1758[1] ชื่อพ้อง 48[2] ม้า (อังกฤษ: horse, ชื่อวิทยาศาสตร์: Equus ferus caballus)[2][3] เป็นชนิดย่อยหนึ่งในสองชนิดของ Equus ferus หรือม้าป่าที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกีบคี่ในวงศ์ Equidae ม้ามีวิวัฒนาการมากว่า 45 ถึง 55 ล้านปีจากสิ่งมีชีวิตหลายกีบเท้าขนาดเล็กสู่สัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน มนุษย์เริ่มนำม้ามาเลี้ยงเมื่อราว 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และเชื่อว่าการเลี้ยงแพร่หลายเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ม้าชนิดย่อย caballus เป็นม้าบ้านแม้ว่าจะมีประชากรม้าบ้านบางส่วนจะอาศัยอยู่ในป่า เช่น ม้าเถื่อน (feral horses) ม้าเถื่อนไม่ใช่ม้าป่าที่แท้จริง ดังเช่นม้าป่ามองโกเลียซึ่งถูกแบ่งแยกออกมาเป็นชนิดย่อยและเป็นชนิดเดียวที่เหลืออยู่ของม้าป่าที่แท้จริง คำว่าม้าเถื่อนใช้เพื่อแสดงว่าม้านี้ไม่ใช่ม้าบ้าน มีคำศัพท์เฉพาะมากมายที่ใช้อธิบายแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับม้า ครอบคลุมจากกายวิภาคถึงช่วงชีวิต ขนาด สี สัญลักษณ์ การเพาะพันธุ์ การเคลื่อนไหว และพฤติกรรม กายวิภาคของม้าช่วยให้ม้าใช้ความเร็วในการหนีนักล่า และม้ายังพัฒนาความสมดุลได้อย่างยอดเยี่ยมและสัญชาตญาณสู้หรือถอยที่แข็งแกร่ง ม้ายังมีลักษณะพิเศษเพื่อใช้สำหรับหลบหลีกนักล่า คือ ม้าสามารถยืนหลับหรือล้มตัวลงนอนหลับก็ได้ ม้าตัวเมียจะอุ้มท้องประมาณ 11 เดือน ลูกม้าจะยืนและวิ่งได้ในเวลาไม่นานหลังกำเนิด ม้าบ้านจำนวนมากจะเริ่มฝึกภายใต้อานม้าหรือบังเหียนระหว่างอายุสองถึงสี่ปี ม้าจะโตเต็มที่เมื่ออายุห้าปี และมีช่วงอายุประมาณ 25 ถึง 30 ปี สายพันธุ์ม้าแบ่งคร่าวๆ ออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะนิสัน พวก "เลือดร้อน (hot blood)" ที่เร็ว ทนทาน "เลือดเย็น (cold blood)" เช่น ม้าแคระ และม้าพันธุ์เล็กบางพันธุ์ ที่ช้าแต่มั่นคง ทำงานหนัก และ "เลือดอุ่น (warmblood)" ที่พัฒนามาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างเลือดร้อนและเลือดเย็น เป็นการเพาะพันธุ์เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานพิเศษบางประการ โดยเฉพาะในยุโรป ม้าบ้านมีมากกว่า 300 พันธุ์ในปัจจุบัน เป็นการพัฒนาเพื่อการใช้งานที่ต่างกันไป ม้าและมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างหลากหลายทั้งในการแข่งขันกีฬาและงานที่ไม่ใช่กิจกรรมสันทนาการ เช่น งานตำรวจ การเกษตร การบันเทิง และการบำบัดรักษา ในอดีต มีการนำม้ามาใช้งานในสงคราม ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการพัฒนาเทคนิคการขับขี่ที่หลากหลาย โดยใช้ลักษณะที่แตกต่างของอุปกรณ์และวิธีการของการควบคุม มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างได้จากม้า ประกอบด้วย เนื้อ นม หนัง ขน กระดูก และยาที่สกัดมาจากน้ำปัสสาวะของม้าตัวเมียที่ตั้งครรภ์ [แก้]ม้าในวรรณคดี ม้าสีหมอก ม้าคู่ใจขุนแผน จาก ขุนช้าง ขุนแผน ม้าอุปการ จาก รามเกียรติ์ ม้าเซ็กเธาว์ ม้าคู่ใจกวนอู และ ลิโป้ จาก สามก๊ก ม้าเต็กเลา ม้าคู่ใจเล่าปี่ จาก สามก๊ก ม้านิลมังกร จาก พระอภัยมณีของ สุนทรภู่ [แก้]ข้อมูลเพิ่มเติม รายชื่อสายพันธุ์ม้า [แก้]อ้างอิง คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ: ม้า ^ Linnaeus, Carolus (1758). Systema naturae per regna tria naturae :secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis.. 1 (10th ed.). Holmiae (Laurentii Salvii). p. 73. http://biodiversitylibrary.org/page/726976. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-09-08. ^ 2.0 2.1 แม่แบบ:MSW3 Perissodactyla ^ International Commission on Zoological Nomenclature (2003). "Usage of 17 specific names based on wild species which are pre-dated by or contemporary with those based on domestic animals (Lepidoptera, Osteichthyes, Mammalia): conserved. Opinion 2027 (Case 3010)". Bull.Zool.Nomencl. 60 (ฉบับที่ 1): 81–84. http://www.nhm.ac.uk/hosted_sites/iczn/BZNMar2003opinions.htm.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น