จํานวนผู้เข้าชม

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หน่วยการเรียนรู้ที่5จริยธรรมเเละความปลอดภัย

คุณธรรม-จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ จริยธรรม หมายถึง "หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ" ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทำงานของพนักงาน เป็นต้น ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำราญ เช่น การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตการใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย 1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) 2. ความถูกต้อง (Information Accuracy) 3 ความเป็นเจ้าของ (Information Property) 4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้ 1.การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร 2.การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม 3.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด 4.การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์ความถูกต้อง (Information Accuracy) ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ เช่น ในกรณีที่องค์การให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ อีกประเด็นหนึ่ง คือ จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ และผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาด ดังนั้น ในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ เช่น ผู้สอนสามารถดูคะแนนของนักศึกษาในความรับผิดชอบ หรือที่สอนเพื่อตรวจสอบว่าคะแนนที่ป้อนไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง ความเป็นเจ้าของ (Information Property) สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น สำหรับท่านเองหลังจากที่ท่านเปิดกล่องหรือบรรจุภัณฑ์แล้ว หมายถึงว่าท่านได้ยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในการใช้สินค้านั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงครั้งเดียว หรือไม่อนุญาตให้ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ ท่านเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้อื่นใช้ก็ตาม ในขณะที่บางบริษัทอนุญาตให้ใช้โปรแกรมนั้นได้หลายๆ เครื่อง ตราบใดที่ท่านยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา การคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธ์ในระดับใด การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบ หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นดังที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น

การพัฒนาโปรแกรม

2. การพัฒนาโปรแกรม 2.2 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วย การวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบโปรแกรม การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม การทำเอกสารประกอบโปรแกรม การบำรุงรักษาโปรแกรม การวิเคราะห์ปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ของงาน เพื่อพิจารณาว่าโปรแกรมต้องทำการประมวลผลอะไรบ้าง พิจารณาข้อมูลนำเข้า เพื่อให้ทราบว่าจะต้องนำข้อมูลอะไรเข้าคอมพิวเตอร์ ข้อมูลมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร ตลอดจนถึงลักษณะและรูปแบบของข้อมูลที่จะนำเข้า พิจารณาการประมวลผล เพื่อให้ทราบว่าโปรแกรมมีขั้นตอนการประมวลผลอย่างไรและมีเงื่อนไปการประมวลผลอะไรบ้าง พิจารณาข้อสนเทศนำออก เพื่อให้ทราบว่ามีข้อสนเทศอะไรที่จะแสดง ตลอดจนรูปแบบและสื่อที่จะใช้ในการแสดงผล การออกแบบโปรแกรม การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นขั้นตอนที่ใช้เป็นแนวทางในการลงรหัสโปรแกรม ผู้ออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมอาจใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยในการออกแบบ อาทิเช่น คำสั่งลำลอง (Pseudocode) หรือ ผังงาน (Flow chart) การออกแบบโปรแกรมนั้นไม่ต้องพะวงกับรูปแบบคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ แต่ให้มุ่งความสนใจไปที่ลำดับขั้นตอนในการประมวลผลของโปรแกรมเท่านั้น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมเป็นการนำเอาผลลัพธ์ของการออกแบบโปรแกรม มาเปลี่ยนเป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องให้ความสนใจต่อรูปแบบคำสั่งและกฎเกณฑ์ของภาษาที่ใช้เพื่อให้การประมวลผลเป็นไปตามผลลัพธ์ที่ได้ออกแบบไว้ นอกจากนั้นผู้เขียนโปรแกรมควรแทรกคำอธิบายการทำงานต่างๆ ลงในโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมนั้นมีความกระจ่างชัดและง่ายต่อการตรวจสอบและโปรแกรมนี้ยังใช้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบ การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม การทดสอบโปรแกรมเป็นการนำโปรแกรมที่ลงรหัสแล้วเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบรูปแบบกฎเกณฑ์ของภาษา และผลการทำงานของโปรแกรมนั้น ถ้าพบว่ายังไม่ถูกก็แก้ไขให้ถูกต้องต่อไป ขั้นตอนการทดสอบและแก้ไขโปรแกรม อาจแบ่งได้เป็น 3 ขั้น สร้างแฟ้มเก็บโปรแกรมซึ่งส่วนใหญ่นิยมนำโปรแกรมเข้าผ่านทางแป้นพิมพ์โดยใช้โปรแกรมประมวลคำ ใช้ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์แปลโปรแกรมที่สร้างขึ้นเป็นภาษาเครื่อง โดยระหว่างการแปลจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบและกฎเกณฑ์ในการใช้ภาษา ถ้าคำสั่งใดมีรูปแบบไม่ถูกต้องก็จะแสดงข้อผิดพลาดออกมาเพื่อให้ผู้เขียนนำไปแก้ไขต่อไป ถ้าไม่มีข้อผิดพลาด เราจะได้โปรแกรมภาษาเครื่องที่สามารถให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้ ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผลของโปรแกรม โปรแกรมที่ถูกต้องตามรูปแบบและกฎเกณฑ์ของภาษา แต่อาจให้ผลลัพธ์ของการประมวลผลไม่ถูกต้องก็ได้ ดังนั้นผู้เขียนโปรแกรมจำเป็นต้องตรวจสอบว่าโปรแกรมประมวลผลถูกต้องตามต้องการหรือไม่ วิธีการหนึ่งก็คือ สมมติข้อมูลตัวแทนจากข้อมูลจริงนำไปให้โปรแกรมประมวลผลแล้วตรวจสอบผลลัพธ์ว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าพบว่าไม่ถูกต้องก็ต้องดำเนินการแก้ไขโปรแกรมต่อไป การสมมติข้อมูลตัวแทนเพื่อการทดสอบเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ลักษณะของข้อมูลตัวแทนที่ดีควรจะสมมติทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิดพลาด เพื่อทดสอบว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถครอบคลุมการปฏิบัติงานในเงื่อนไขต่างๆ ได้ครบถ้วน นอกจากนี้อาจตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมด้วยการสมมติตัวเองเป็นคอมพิวเตอร์ทีจะประมวลผล แล้วทำตามคำสั่งทีละคำสั่งของโปรแกรมนั้นๆ วิธีการนี้อาจทำได้ยากถ้าโปรแกรมมีขนาดใหญ่ หรือมีการประมวลผลที่ซับซ้อน การทำเอกสารประกอบโปรแกรม การทำเอกสารประกอบโปรแกรมเป็นงานที่สำคัญของการพัฒนาโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมเข้าใจวัตถุประสงค์ ข้อมูลที่จะต้องใช้กับโปรแกรม ตลอดจนผลลัพธ์ที่จะได้จากโปรแกรม การทำโปรแกรมทุกโปรแกรมจึงควรต้องทำเอกสารกำกับ เพื่อใช้สำหรับการอ้างอิงเมื่อจะใช้งานโปรแกรมและเมื่อต้องการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมที่จัดทำ ควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้ วัตถุประสงค์ ประเภทและชนิดของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ใช้ในโปรแกรม วิธีการใช้โปรแกรม แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรม รายละเอียดโปรแกรม ข้อมูลตัวแทนที่ใช้ทดสอบ ผลลัพธ์ของการทดสอบ การบำรุงรักษาโปรแกรม เมี่อโปรแกรมผ่านการตรวจสอบตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว และถูกนำมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน ในช่วงแรกผู้ใช้อาจจะยังไม่คุ้นเคยก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาบ้าง ดังนั้นจึงต้องมีผู้คอยควบคุมดูแลและคอยตรวจสอบการทำงาน การบำรุงรักษาโปรแกรมจึงเป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องคอยเฝ้าดูและหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมในระหว่างที่ผู้ใช้ใช้งานโปรแกรม และปรับปรุงโปรแกรมเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือในการใช้งานโปรแกรมไปนานๆ ผู้ใช้อาจต้องการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบงานเดิมเพื่อให้เหมาะกับเหตุการณ์ นักเขียนโปรแกรมก็จะต้องคอยปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง

หน่วยการเรียนรู้ที่2การพัฒนาระบบสารสนเทศ

หน้า 1 จาก 4 การพัฒนาระบบสารสนเทศ ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ 1. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน ระบบเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือทำงานได้ตามต้องการ มีการดำเนินงานหลายขึ้นตอน ยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำข้อมูลสรุปสำหรับการติดตามการปฏิบัติงานโดยรวมขององค์การ จึงจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย ค่าช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมีราคาสูง จึงต้องรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานที่มีอยู่เดิม 3. การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน - ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก - ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ - ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ การพัฒนาระบบประกอบด้วย 1) กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจขององค์การ - การปรับปรุงคุณภาพ - การติดตามความล้มเหลวจากการดำเนินงาน - การปรับค่าตอบแทนของพนักงานโดยใช้การปรับปรุงคุณภาพเป็นดัชนี - การค้นหาและแก้ไขสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลว 2) บุคลากร (People) 3) วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique) การเลือกใช้วิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของระบบเป็นสิ่งสำคัญ 4) เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเหมาะสมกับลักษณะขอบเขตของระบบสารสนเทศแล ะงบประมาณที่กำหนด 5) งบประมาณ (Budget) 6) ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure) 7) การบริหารโครงการ (Project Management) ทีมงานพัฒนาระบบ การพัฒนา IT เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการพัฒนาระบบหลายกลุ่ม โดยทั่วไปจะมีการทำงานเป็นทีมที่ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และทักษะจากกลุ่มบุคคล 1) คณะกรรมการ (Steering Committee) 2) ผู้บริหารโครงการ (Project Manager) 3) ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ (MIS Manager) 4) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) ควรมีทักษะในด้านต่างๆ คือ - ทักษะด้านเทคนิค - ทักษะด้านการวิเคราะห์ - ทักษะดานการบริหารจัดการ - ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร 5) ผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิค - ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) - โปรแกรมเมอร์ (Programmer) 6) ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and Manager) ย้อนกลับ - ถัดไป >> หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ 1) คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ 2) เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งมีแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นระบบมีขั้นตอนดังนี้ - ศึกษาทำความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น - รวบรวมและกำหนดความต้องการ - หาวิธีการแก้ปัญหาหลายๆ วิธีและเลือกวิธีที่ดีที่สุด - ออกแบบและทำการแก้ปัญหาตามวิธีที่เลือก - สังเกตและประเมินผลกระทบจากวิธีแก้ปัญหาที่นำมาใช้ และปรับปรุงวิธีการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด 3) กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ 4) กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ 5) ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง 6) เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา 7) แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย 8) ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ - การกำหนดและเลือกโครงการ (System Identification and Selection) - การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (System Initiation and Planning) - การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) - การออกแบบระบบ (System Design) - การพัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation) - การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance) การพัฒนาระบบมีรูปแบบต่างๆ 1. การพัฒนาระบบแบบน้ำตก (Waterfall Model) แต่ละขั้นตอนของการพัฒนาระบบจะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อได้ทำขั้นตอนก่อนหน้านี้เสร็จเรียบร้อยและจะไม่ย้อนกลับไปทำขั้นตอนก่อนหน้านี้อีก 2. การพัฒนาระบบแบบน้ำตกที่ย้อนกลับขั้นตอนได้ (Adapted Waterfall ) เป็นรูปแบบการพัฒนาที่หากดำเนินการในขั้นตอนใดอยู่สามารถย้อนกลับไปขั้นตอนก่อนหน้านี้ได้เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือ เพื่อต้องการความชัดเจน 3. การพัฒนาระบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Application Development) เป็นรูปแบบการพัฒนาที่มีการทำซ้ำบางขั้นตอนจนกว่าขั้นตอนต่างๆ ของระบบที่สร้างจะได้รับการยอมรับ 4. การพัฒนาระบบในรูปแบบขดลวด (Evolutionary Model SDLC) เป็นการพัฒนาระบบแบบวนรอบเพื่อให้การพัฒนาระบบมีความรวดเร็วโดยการพัฒนาระบบจะเริ่มจากแกนกลาง ในรอบแรกของการพัฒนาจะได้ ระบบรุ่น(Version) แรกออกมาและจะปรับปรุงให้ดีขึ้นในรุ่นที่สอง และดำเนินการแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้รุ่นที่สมบูรณ์ วงจรการพัฒนาระบบ Phase 1 การกำหนดและเลือกสรรโครงการ (System Identification and Selection) ผลของการพิจารณาของคณะกรรมการอาจเป็นไปได้ดังนี้ - อนุมัติโครงการ - ชะลอโครงการ - ทบทวนโครงการ - ไม่อนุมัติโครงการ Phase 2 การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (System Initiation and Planning) จะเริ่มจัดทำโครงการ โดยจัดตั้งทีมงานพร้อมทั้งกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ - การศึกษาความเป็นไปได้ - การพิจารณาผลประโยชน์หรือผลตอบแทนที่จะได้รับจากโครงการ - การพิจารณาค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของโครงการ - การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการพัฒนาระบบสารสนเทศ Phase 3 การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ในขั้นตอนนี้จะเกี่ยวกับการเก็บข้อมูล - Fact-Finding Technique - Joint Application Design (JAD) - การสร้างต้นแบบ Phase 4 การออกแบบระบบ (System Design) การออกแบบแบ่งเป็น 2 ส่วน - การออกแบบเชิงตรรกะ (Logical Design) - การออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design) Phase 5 การดำเนินการระบบ (System Implementation) ซึ่งจะครอบคลุมกิจกรรมดังต่อไปนี้ - จัดซื้อหรือจัดหาฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Solfware) - เขียนโปรแกรมโดยโปรแกรมเมอร์ (Coding) - ทำการทดสอบ (Testing) - การจัดทำเอกสารระบบ (Documentation) - การถ่ายโอนระบบงาน (System Conversion) - ฝึกอบรมผู้ใช้ระบบ (Training) Phase 6 การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance) เป็นขั้นตอนการดูและระบบเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการทำงานโดยบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีหน้าที่ในส่วนนี้ การบำรุงรักษาระบบแบ่งได้ 4 ประเภท - Corrective Maintenance เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของระบบ - Adaptive Maintenance เพื่อให้ระบบสามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น - Perfective Maintenance เพื่อบำรุงรักษาระบบให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ - Preventive Maintenance เพื่อบำรุงรักษาระบบป้องกันข้อผิดพลาดที่จะเกิด วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศ 1) การพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม (Traditional SDLC Methodology) เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรการพัฒนาระบบที่มีขั้นตอนที่แน่นอน วิธีนี้เป็นวิธีเก่าแก่ที่สุดและนิยมเรียกย่อๆ ว่า SDLC 2) การสร้างต้นแบบ (Prototyping) เป็นการสร้างระบบต้นแบบขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ทดลองใช้งานซึ่งนอกจากผู้ใช้จะได้แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศที่ต้องการแล้วยังช่วยให้มองเห็นภาพของระบบที่จะพัฒนาได้ชัดเจนขึ้น การพัฒนาระบบโดยใช้ตนแบบแบงออกเป็น 4 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 : ระบุความต้องการเบื้องต้นของผู้ใช้ ขั้นที่ 2 : พัฒนาต้นแบบเริ่มแรก ขั้นที่ 3 : นำต้นแบบมาใช้ ขั้นที่ 4 : ปรับปรุงแก้ไขต้นแบบ 3) การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ (End-user Development) 4) การใช้บริการจากแหล่งภายนอก (Outsourcing) เนื่องจากองค์การไม่มีบุคลากรที่มีทักษะความชำนาญ การจ้างหน่วยงานหรือบริษัทภายนอกที่มีความชำนาญด้านนี้มาทำการพัฒนาระบบให้ ซึ่งการทำสัญญาจ้างให้หน่วยงานภายนอกมาทำงานเกี่ยวกับการดำเนินงานของฝ่ายคอมพิวเตอร์นี้เรียกว่า IT Outsourcing ในที่นี้จะเรียกสั้นๆ ว่า Outsourcing 5) การใช้ซอฟแวร์สำเร็จรูปประยุกต์ (Application Software Package) เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา เช่น ระบบงานเงินเดือน ระบบบัญชีลูกหนี้ หรือระบบควบคุมสินค้าคลคลัง หากซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสามารถสนองต่อความต้องการระบบงานขององค์การได้ องค์การก้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นเอง เนื่องจากโปรแกรมสำเร็จรูปได้รับการออกแบบและผ่านการทดสอบแล้ว จึงช่วยลดค่าใช่จ่ายและเวลาในการพัฒนาระบบใหม่และยังช่วยให้การทดสอบ การติดตั้ง และการบำรุงรักษาระบบเป็นไปได้ง่ายขึ้น การพัฒนาระบบแบบออบเจ็กต์ (Object-Oriented Methodology) ประกอบด้วยกลุ่มของวัตถุ (Class of Objects) ซึ่งทำงานร่วมกัน มีการจัดกลุ่มของข้อมูลและพฤติกรรมหรือฟังก์ชันที่กระทำกับข้อมูลนั้นเป็นกลุ่มๆ ในรูปของออบเจ็กต์ เนื่องจากออบเจ็กต์มีคุณสมบัติในการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Reusability) การพัฒนาโปรแกรมแบบออบเจ็กต์จึงใช้เวลาในการพัฒนาน้อยกว่าวิธีอื่น การพัฒนาระบบงานประยุกต์แบบรวดเร็ว (Rapid Application Development) เป็นขั้นตอนในการพัฒนาระบบที่ใช้ระยะเวลาในการพัฒนารวดเร็วกว่าและคุณภาพดีกว่าวิธีพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม โดยมีการนำเครื่องมือซอฟต์แวร์มาช่วยในการพัฒนาระบบซึ่งมีขั้นตอนในการพัฒนาระบบอยู่ 4 ขั้นตอนคือ 1) การกำหนดความต้องการ 2) การออกแบบโดยผู้ใช้ 3) การสร้างระบบ 4) การเปลี่ยนระบบหรือใช้ระบบ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จ 1) การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร 2) การกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 3) ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของทีมพัฒนาระบบ 4) การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม 5) การบริหารโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

ม้า

ม้า จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ม้า (แก้ความกำกวม) ม้า สถานะการอนุรักษ์ สัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์ การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Animalia ไฟลัม: Chordata ชั้น: Mammalia ชั้นย่อย: Theria Infraclass: Eutheria อันดับ: Perissodactyla วงศ์: Equidae สกุล: Equus สปีชีส์: E. ferus Subspecies: E. f. caballus ชื่อวิทยาศาสตร์ Equus ferus caballus Linnaeus, 1758[1] ชื่อพ้อง 48[2] ม้า (อังกฤษ: horse, ชื่อวิทยาศาสตร์: Equus ferus caballus)[2][3] เป็นชนิดย่อยหนึ่งในสองชนิดของ Equus ferus หรือม้าป่าที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกีบคี่ในวงศ์ Equidae ม้ามีวิวัฒนาการมากว่า 45 ถึง 55 ล้านปีจากสิ่งมีชีวิตหลายกีบเท้าขนาดเล็กสู่สัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน มนุษย์เริ่มนำม้ามาเลี้ยงเมื่อราว 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และเชื่อว่าการเลี้ยงแพร่หลายเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ม้าชนิดย่อย caballus เป็นม้าบ้านแม้ว่าจะมีประชากรม้าบ้านบางส่วนจะอาศัยอยู่ในป่า เช่น ม้าเถื่อน (feral horses) ม้าเถื่อนไม่ใช่ม้าป่าที่แท้จริง ดังเช่นม้าป่ามองโกเลียซึ่งถูกแบ่งแยกออกมาเป็นชนิดย่อยและเป็นชนิดเดียวที่เหลืออยู่ของม้าป่าที่แท้จริง คำว่าม้าเถื่อนใช้เพื่อแสดงว่าม้านี้ไม่ใช่ม้าบ้าน มีคำศัพท์เฉพาะมากมายที่ใช้อธิบายแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับม้า ครอบคลุมจากกายวิภาคถึงช่วงชีวิต ขนาด สี สัญลักษณ์ การเพาะพันธุ์ การเคลื่อนไหว และพฤติกรรม กายวิภาคของม้าช่วยให้ม้าใช้ความเร็วในการหนีนักล่า และม้ายังพัฒนาความสมดุลได้อย่างยอดเยี่ยมและสัญชาตญาณสู้หรือถอยที่แข็งแกร่ง ม้ายังมีลักษณะพิเศษเพื่อใช้สำหรับหลบหลีกนักล่า คือ ม้าสามารถยืนหลับหรือล้มตัวลงนอนหลับก็ได้ ม้าตัวเมียจะอุ้มท้องประมาณ 11 เดือน ลูกม้าจะยืนและวิ่งได้ในเวลาไม่นานหลังกำเนิด ม้าบ้านจำนวนมากจะเริ่มฝึกภายใต้อานม้าหรือบังเหียนระหว่างอายุสองถึงสี่ปี ม้าจะโตเต็มที่เมื่ออายุห้าปี และมีช่วงอายุประมาณ 25 ถึง 30 ปี สายพันธุ์ม้าแบ่งคร่าวๆ ออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะนิสัน พวก "เลือดร้อน (hot blood)" ที่เร็ว ทนทาน "เลือดเย็น (cold blood)" เช่น ม้าแคระ และม้าพันธุ์เล็กบางพันธุ์ ที่ช้าแต่มั่นคง ทำงานหนัก และ "เลือดอุ่น (warmblood)" ที่พัฒนามาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างเลือดร้อนและเลือดเย็น เป็นการเพาะพันธุ์เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานพิเศษบางประการ โดยเฉพาะในยุโรป ม้าบ้านมีมากกว่า 300 พันธุ์ในปัจจุบัน เป็นการพัฒนาเพื่อการใช้งานที่ต่างกันไป ม้าและมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างหลากหลายทั้งในการแข่งขันกีฬาและงานที่ไม่ใช่กิจกรรมสันทนาการ เช่น งานตำรวจ การเกษตร การบันเทิง และการบำบัดรักษา ในอดีต มีการนำม้ามาใช้งานในสงคราม ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการพัฒนาเทคนิคการขับขี่ที่หลากหลาย โดยใช้ลักษณะที่แตกต่างของอุปกรณ์และวิธีการของการควบคุม มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างได้จากม้า ประกอบด้วย เนื้อ นม หนัง ขน กระดูก และยาที่สกัดมาจากน้ำปัสสาวะของม้าตัวเมียที่ตั้งครรภ์ [แก้]ม้าในวรรณคดี ม้าสีหมอก ม้าคู่ใจขุนแผน จาก ขุนช้าง ขุนแผน ม้าอุปการ จาก รามเกียรติ์ ม้าเซ็กเธาว์ ม้าคู่ใจกวนอู และ ลิโป้ จาก สามก๊ก ม้าเต็กเลา ม้าคู่ใจเล่าปี่ จาก สามก๊ก ม้านิลมังกร จาก พระอภัยมณีของ สุนทรภู่ [แก้]ข้อมูลเพิ่มเติม รายชื่อสายพันธุ์ม้า [แก้]อ้างอิง คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ: ม้า ^ Linnaeus, Carolus (1758). Systema naturae per regna tria naturae :secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis.. 1 (10th ed.). Holmiae (Laurentii Salvii). p. 73. http://biodiversitylibrary.org/page/726976. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-09-08. ^ 2.0 2.1 แม่แบบ:MSW3 Perissodactyla ^ International Commission on Zoological Nomenclature (2003). "Usage of 17 specific names based on wild species which are pre-dated by or contemporary with those based on domestic animals (Lepidoptera, Osteichthyes, Mammalia): conserved. Opinion 2027 (Case 3010)". Bull.Zool.Nomencl. 60 (ฉบับที่ 1): 81–84. http://www.nhm.ac.uk/hosted_sites/iczn/BZNMar2003opinions.htm.

ปลาการ์ตูน

ปลาการ์ตูน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ปลาการ์ตูน ปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris) เป็นปลาการ์ตูนที่เป็นที่คุ้นเคยและพบเจอได้บ่อยที่สุดในทะเล ปลาการ์ตูนแดง (Premnas biaculeatus) เป็นปลาการ์ตูนเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Premnas การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Animalia ไฟลัม: Chordata ชั้น: Actinopterygii อันดับ: Perciformes วงศ์: Pomacentridae วงศ์ย่อย: Amphiprioninae สกุล Amphiprion Bloch and Schneider, 1801 Premnas Cuvier, 1816 แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของปลาการ์ตูน ชื่อพ้อง Actinicola Fowler, 1904 Paramphiprion Wang, 1941 Phalerebus Whitley, 1929 Prochilus Bleeker, 1865 ปลาการ์ตูน (อังกฤษ: Clownfish, Anemonefish) เป็นปลากระดูกแข็งขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Amphiprioninae ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) เนื้อหา [ซ่อน] 1 ลักษณะ 2 การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย 3 อนุกรมวิธาน 4 พฤติกรรม 4.1 ความสัมพันธ์กับดอกไม้ทะเล 5 การเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและการเพาะพันธุ์ 6 การนำปลาที่เพาะพันธุ์ได้ไปปล่อยลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ 7 อ้างอิง [แก้]ลักษณะ เป็นปลามีสีสันสวยงาม โดยทั่วไปประกอบด้วยสีส้ม, แดง, ดำ, เหลือง และมีสีขาวพาดกลางลำตัว 1-3 แถบ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นชนิดเดียวกัน ก็จะมีสีแตกต่างกันเล็กน้อยเสมอ ซึ่งความแตกต่างนี้ทำให้จดจำคู่ได้ นอกจากนั้น แหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันทำให้เกิดการแปรผันด้วย ปลาการ์ตูนอยู่กันเป็นครอบครัว กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เป็นปลาที่หวงถิ่นมาก มีเขตที่อยู่ของตนเอง [แก้]การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย พบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังในบริเวณเส้นศูนย์สูตรทั่วโลก อาศัยอยู่ตามแนวปะการังกับดอกไม้ทะเล [แก้]อนุกรมวิธาน ปลาการ์ตูนแบ่งออกได้เป็น 2 สกุล คือ Amphiprion และ Premnas ซึ่งมีอยู่เพียงชนิดเดียว สกุล Amphiprion:[1] Amphiprion akallopisos – ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง Amphiprion akindynos Amphiprion allardi Amphiprion barberi Amphiprion bicinctus Amphiprion chagosensis Amphiprion chrysogaster Amphiprion chrysopterus Amphiprion clarkii – ปลาการ์ตูนลายปล้อง Amphiprion ephippium Amphiprion frenatus – ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ Amphiprion fuscocaudatus Amphiprion latezonatus Amphiprion latifasciatus – ปลาการ์ตูนมาดากัสการ์ Amphiprion leucokranos Amphiprion mccullochi Amphiprion melanopus Amphiprion nigripes Amphiprion ocellaris – ปลาการ์ตูนส้มขาว Amphiprion omanensis Amphiprion pacificus – ปลาการ์ตูนแปซิฟิก Amphiprion percula – ปลาการ์ตูนส้ม Amphiprion perideraion Amphiprion polymnus – ปลาการ์ตูนอานม้า Amphiprion rubacinctus Amphiprion sandaracinos – ปลาการ์ตูนเหลือง Amphiprion sebae – ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง Amphiprion thiellei Amphiprion tricinctus สกุล Premnas:[2] Premnas biaculeatus – ปลาการ์ตูนแดง ปัจจุบัน ปลาการ์ตูนพบทั้งหมด 28 ชนิด ในน่านน้ำไทยพบปลาการ์ตูน 7 ชนิด[3] ทั้งด้านอ่าวไทยและอันดามันได้แก่ ปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris), ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง (A. akallopisos), ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ (A. frenatus), ปลาการ์ตูนอานม้า (A. polymnus), ปลาการ์ตูนลายปล้อง (A. clarkii), ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง (A. sebae) และปลาการ์ตูนแดง (Premnas biaculeatus) [แก้]พฤติกรรม ปลาการ์ตูนอินเดียนแดงชมพู (Amphiprion perideraion) ขณะอยู่กับดอกไม้ทะเล ปลาการ์ตูนออกลูกเป็นไข่และสามารถเปลี่ยนเพศได้ ปลาการ์ตูนจะเปลี่ยนเพศเมื่อสิ่งแวดล้อมกำหนดบทบาทให้ โดยในระยะแรกเริ่มหลังจากที่ฟักออกจากไข่ยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าเป็นเพศใด จนกว่าจะเป็นตัวเต็มวัยจึงจะปรากฏเป็นปลาเพศผู้ และในปลารุ่นเดียวกันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นปลาเพศเมีย โดยในสังคมของปลาการ์ตูนกลุ่มหนึ่ง ๆ จะมีปลาเพศเมียเพียงตัวเดียวเท่านั้น ตัวใหญ่ที่สุดในฝูง สีสันไม่สดใสมากนัก พฤติกรรมก้าวร้าว ส่วนปลาเพศผู้มีขนาดเล็กกว่า สีสันสวยงามกว่า จากปลาเพศผู้ เมื่อมีสิ่งเร้าจากภายนอกและภายในเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ เทเลนฟาลอน (Telenephalon) จะส่งสัญญาณมาที่ทาลามัส (Thalamus) และไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ส่งคำสั่งไปยังต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมนเฉพาะของเพศผู้ อวัยวะเป้าหมายส่วนที่ จะพัฒนาจนสามารถทำงานได้คืออัณฑะผลิตสเปิร์ม ส่วนตัวที่ใหญ่ ที่สุดจะมีพัฒนาการตรงกันข้าม ไฮโปธาลามัสจะส่งคำสั่งไปยังต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมนเฉพาะของเพศเมีย อวัยวะเป้าหมายคือรังไข่ ผลิตไข่ และถ้าเพศเมียตายไป ปลาการ์ตูนเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แข็งแกร่งที่สุด จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพศทดแทนด้วยกลไกแบบหลังภายใน 4 สัปดาห์ โดยจะเพิ่มขนาดอย่างรวดเร็ว พร้อมสีสันสวยน้อยลง และจากการศึกษาพบว่า ปลาการ์ตูนมีระบบชนชั้นภายในฝูง โดยตำแหน่งหัวหน้าฝูงจะเป็น ปลาเพศเมียตัวที่ใหญ่ที่สุด และลดหลั่นกันไปจนถึงตัวที่มีขนาดเล็กที่สุด อีกทั้งยังพบด้วยว่า แม้ว่าปลาการ์ตูนจะถือกำเนิดห่างไกลจากที่กำเนิดเท่าใด เมื่อเจริญเติบโตขึ้นหรือถึงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ จะว่ายฝ่ากระแสน้ำกลับมาวางไข่ยังบริเวณเดิมที่กำเนิด โดยอาศัยการดมกลิ่นจากกลิ่นของพืชที่อยู่บริเวณนั้น ซึ่งปลาจะมีความจดจำลักษณะเฉพาะของกลิ่นได้[4] [แก้]ความสัมพันธ์กับดอกไม้ทะเล ปลาการ์ตูนเป็นปลาที่มีลักษณะเฉพาะ คือ จะอาศัยอยู่ภายในดอกไม้ทะเลซึ่งมีเข็มพิษ แต่ไม่เป็นอันตรายกับปลาการ์ตูน เพื่อป้องกันตัว เป็นพฤติกรรมที่สัตว์ทั้งสองพึ่งพากัน ดอกไม้ทะเลมีหนวดยาวมากมายพลิ้วไหวไปตามกระแสน้ำ ส่วนร่างยึดติดกับโขดหินหรือปะการังเอาไว้ หนวดที่อ่อนนุ่มเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้หาอาหาร บริเวณปลายหนวดเต็มไปด้วยเข็มพิษจำนวนมหาศาล เมื่อมีปลาว่ายหลงผ่านมา ดอกไม้ทะเลจะใช้หนวดพิษทิ่มแทงเหยื่อให้เป็นอัมพาต แล้วใช้หนวดจับเข้าปาก จึงไม่มีปลาอื่นกล้าว่ายเข้าใกล้ดอกไม้ทะเล ยกเว้นเพียงปลาการ์ตูน ที่เที่ยวว่ายหากินสาหร่ายเล็ก ๆ อยู่รอบ ๆ ครั้นมีศัตรูมารบกวน มันจะรีบว่ายเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในกอดอกไม้ทะเล อันที่จริงแล้วปลาการ์ตูนก็ได้รับพิษเช่นกัน แต่รู้จักปรับตัวโดยใช้วิธีว่ายเข้าไปสัมผัสกับดอกไม้ทะเลทีละน้อย ๆ แล้วถอยออกมา ทำอยู่จนกระทั่งร่างกายสร้างเมือกขึ้นมาปกคลุมตัว ช่วยป้องกันเข็มพิษดอกไม้ทะเลได้ในที่สุด แต่ถ้าปลาการ์ตูนปราศจากเมือกอันนี้เมื่อใด ปลาก็จะถูกเข็มพิษของดอกไม้ทะเลทำร้าย จนตายในที่สุด [แก้]การเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและการเพาะพันธุ์ ปลาการ์ตูนเป็นปลาทะเลที่เป็นนิยมอย่างมากในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากภาพยนตร์การ์ตูนของวอลต์ ดีสนีย์ เรื่อง Finding Nemo ที่ออกฉายในปี ค.ศ. 2003 แล้วประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง ส่งผลให้ความนิยมในปลาการ์ตูนเพิ่มขึ้นสูง โดยเฉพาะในหมู่เด็ก ๆ ซึ่งการได้มาของปลาการ์ตูนจะต้องไปจับจากในทะเล ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการสูญพันธุ์ในธรรมชาติ และกระทบถึงสภาพแวดล้อมด้วย ซึ่งผู้จับจะใช้ตาข่ายหรือสวิงช้อนตัวปลาขึ้นมาใส่ไว้ในกล่องพลาสติกกล่องละตัว เพื่อป้องกันปลาต่อสู้กันที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเป็นแผลได้ ปลาที่อ่อนแอหรือไม่สมบูรณ์พร้อม จะถูกคัดทิ้ง [5] ปัจจุบันได้มีการเพาะพันธุ์ได้ตามศูนย์วิจัยต่าง ๆ ของกรมประมง หรือฟาร์มของเอกชนทั่วไปเพื่อจำหน่าย โดยสถานที่แห่งแรกที่เพาะพันธุ์ปลาการ์ตูนได้สำเร็จและถือเป็นแหล่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ของประเทศไทย ที่นำโดย ดร.วรเทพ มุธุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบัน โดยใช้วิธีการให้ปลาวางไข่กับแผ่นกระเบื้องเซรามิกในตู้เลียนแบบธรรมชาติ นับว่าได้ผลสำเร็จดี ซึ่งในปัจจุบัน ก็ยังคงวิจัยศึกษาและพัฒนาการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ให้ได้ผลดียิ่งขึ้นต่อไป [6] คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ: ปลาการ์ตูน [แก้]การนำปลาที่เพาะพันธุ์ได้ไปปล่อยลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ ลูกปลาการ์ตูนบางส่วนที่หน่วยงานกรมประมงเพาะพันธุ์ได้ จะถูกนำไปปล่อยคืนในแหล่งน้ำธรรมชาติที่เหมาะสมซึ่งปลาการ์ตูนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยการปล่อยปลาการ์ตูน จะต้องมีการปรับสภาพให้ปลามีคุ้ยเคยกับแหล่งที่จะปล่อยปลาการ์ตูนเหล่านั้น เพื่อให้รอดพ้นจากกการถูกทำร้ายจากสัตว์น้ำชนิดอื่น และดำรงชีวิตต่อไปได้[7] [แก้]อ้างอิง ^ Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2011). Species of Amphiprion in FishBase. December 2011 version. ^ Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2011). Species of Premnas in FishBase. December 2011 version. ^ รู้หรือไม่รู้ ดอกไม้ของนายนีโม่ ^ ปลาดารา (Filmstar Fish: The Struggle for Survival), รายการท่องโลกกว้าง ทางไทยพีบีเอส: วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554 ^ ปลาดารา (Filmstar Fish: The Struggle for Survival), รายการท่องโลกกว้าง ทางไทยพีบีเอส: วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554 ^ ปลาดารา (Filmstar Fish: The Struggle for Survival), รายการท่องโลกกว้าง ทางไทยพีบีเอส: วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554 ^ การนำปลาที่เพาะพันธุ์ได้ไปปล่อยลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ

ดาวทะเล

ดาวทะเล จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ดาวทะเล ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ออร์โดวิเชียน-ปัจจุบัน ดาวทะเลปุ่มแดง (Protoreaster linckii) การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Animalia ไฟลัม: Echinodermata Subphylum: Asterozoa ชั้น: Asteroidea De Blainville, 1830 อันดับ Brisingida (100 ชนิด) Forcipulatida (300 ชนิด) Paxillosida (255 ชนิด) Notomyotida (75 ชนิด) Spinulosida (120 ชนิด) Valvatida (695 ชนิด) Velatida (200 ชนิด) ดาวทะเล หรือที่เรียกกันติดปากว่า ปลาดาว (อังกฤษ: Starfish, Seastar) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง ที่อยู่ในชั้น Asteroidea[1] ลักษณะทั่วไป มีลำตัวแยกเป็นห้าแฉกคล้ายรูปดาวเรียกว่า แขน ส่วนกลาง มีลักษณะเป็นจานกลม ด้านหลังมีตุ่มหินปูน ขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป มีปากอยู่ด้านล่างบริเวณ จุดกึ่งกลางของ ลำตัว ใต้แขนแต่ละข้างมีหนวดสั้น ๆ เรียงตามส่วนยาว ของแขนเป็นคู่ ๆ มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อที่เหนียวและแข็งแรงเรียกว่า โปเดีย ใช้สำหรับยึดเกาะกับเคลื่อนที่ มีสีต่าง ๆ ออกไป ทั้ง ขาว, ชมพู, แดง, ดำ, ม่วง หรือน้ำเงิน เป็นต้น พบอยู่ตามชายฝั่งทะเล โขดหิน และบางส่วนอาจพบได้ถึงพื้นทะเลลึก กินหอยสองฝา โดยเฉพาะ หอยนางรม, กุ้ง, ปู หนอน และ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เช่น ฟองน้ำหรือปะการัง เป็นอาหาร ดาวทะเล พบอยู่ในทะเลทั่วโลก ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก, แอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งในเขตขั้วโลกด้วยอย่าง มหาสมุทรอาร์กติก และแอนตาร์กติกา ดาวทะเล ถึงปัจจุบันนี้พบอยู่ด้วยประมาณ 1,800 ชนิด กระจายอยู่ในอันดับต่าง ๆ 7 อันดับ (ดูในตาราง) ซึ่งดาวทะเลขนาดเล็กอาจมีความกว้างเพียง 1 เซนติเมตร และขนาดใหญ่ที่สุดอาจยาวได้ถึง 1 เมตร และในบางชนิดอาจมีแขนได้มากกว่า 5 แขน สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ โดยมีทั้งเพศผู้และเพศเมีย การปฏิสนธิเกิดภายนอกตัว ระยะแรกตัวอ่อนจะดำรงชีวิตแบบแพลงก์ตอนสัตว์ จากนั้นจะเริ่มพัฒนาตัวแล้วจมตัวลงเพื่อหาที่ยึดเกาะแล้วเจริญเป็นตัวเต็มวัย ส่วนการ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ในบางชนิดเมื่อแขนถูกตัดขาดลง จะพัฒนาตรงส่วนนั้นกลายเป็นดาวทะเลตัวใหม่เกิดขึ้น และตัวที่ขาดก็จะงอกชิ้นใหม่ขึ้นมาได้จนสมบูรณ์ แต่กระบวนการเหล่านี้ต้องใช้เวลาเป็นปี [2] การเคลื่อนที่ของดาวทะเล เนื่องจากดาวทะเลเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีโครงแข็งที่ผิวนอก ไม่ได้ยึดเกาะกับกล้ามเนื้อ จึงมีระบบการเคลื่อนที่ด้วยระบบท่อน้ำ จากท่อวงแหวนจะมีท่อน้ำแยกออกไปในแขน เรียกท่อนี้ว่า เรเดียลแคแนล ทางด้านข้างของเรเดียลคาแนล มีท่อแยกไปยังทิวบ์ฟีต การยืดและหดของทิวบ์ฟิตจะเกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้ง และมีความสัมพันธ์กันทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปได้ ดาวทะเลมีความสัมพันธ์ต่อมนุษย์ในแง่ ของการใช้ซากเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้านเพื่อความสวยงาม อีกทั้งในบางวัฒนธรรมเช่น จีน มีการใช้ดาวทะเลเพื่อปรุงเป็นยา รวมทั้งใช้ปิ้งย่างเป็นอาหาร[3] อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงภายในตู้ปลาเพื่อความเพลิดเพลินอีกด้วย [แก้]อ้างอิง Blake DB, Guensburg TE; Implications of a new early Ordovician asteroid (Echinodermata) for the phylogeny of Asterozoans; Journal of Paleontology, 79 (2): 395-399; MAR 2005. Gilbertson, Lance; Zoology Lab Manual; McGraw Hill Companies, New York; ISBN 0-07-237716-X (fourth edition, 1999). Shackleton, Juliette D.; Skeletal homologies, phylogeny and classification of the earliest asterozoan echinoderms; Journal of Systematic Palaeontology; 3 (1): 29-114; March 2005. Solomon, E.P., Berg, L.R., Martin, D.W. 2002. Biology, Sixth Edition. Sutton MD, Briggs DEG, Siveter DJ, Siveter DJ, Gladwell DJ; A starfish with three-dimensionally preserved soft parts from the Silurian of England; Proceedings of the Royal Society B - Biological Sciences; 272 (1567): 1001-1006; MAY 22 2005. Hickman C.P, Roberts L.S, Larson A., l'Anson H., Eisenhour D.J.; Integrated Principles of Zoology; McGraw Hill; New York; ISBN 0-07-111593-5 (Thirteenth edition; 2006). ^ ดาวทะเล จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ^ ปลาดาวใช่ปลาจริงหรือ ? ^ เมนูพื้นเมือง จากข่าวสด [แก้]แหล่งข้อมูลอื่น วิกิสปีชีส์ มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ: Asteroidea คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ: ดาวทะเล From the Tree of Life project Classification of the Extant Echinodermata Starfish–Sea Stars Home Page

ม้าน้ำ

ม้าน้ำ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ม้าน้ำ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 23–0 Ma PreЄЄOSDCPTJKPgN ม้าน้ำหนามขอ (Hippocampus histrix) ม้าน้ำแห้งที่ใช้สำหรับทำยาจีน ในเมืองกวางโจว การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Animalia ไฟลัม: Chordata ชั้น: Actinopterygii อันดับ: Syngnathiformes วงศ์: Syngnathidae วงศ์ย่อย: Hippocampinae สกุล: Hippocampus Rafinesque, 1810 ชนิด 47 ชนิด (โดยประมาณ) สำหรับสัตว์ในเทพปกรณัม ดูที่ ฮิปโปแคมปัส (เทพปกรณัมกรีก) ม้าน้ำ (อังกฤษ: Seahorse) เป็นปลากระดูกแข็งที่อาศัยอยู่ในทะเลจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Hippocampinae (ซึ่งมีอยู่ 2 สกุล คือหนึ่งสกุลนั้นคือ ปลาจิ้มฟันจระเข้สัน ที่อยู่ในสกุล Histiogamphelus มีรูปร่างคล้ายปลาจิ้มฟันจระเข้ผสมกับม้าน้ำ) ในวงศ์ Syngnathidae อันเป็นวงศ์เดียวกับปลาจิ้มฟันจระเข้และมังกรทะเล ในอันดับ Syngnathiformes สำหรับม้าน้ำนั้นจะมีอยู่เพียงสกุลเดียว คือ Hippocampus ซึ่งมาจากภาษากรีกโบราณ คำว่า "hippo" หรือ "hippos" ที่แปลว่า "ม้า" และ "campus" ที่แปลว่า "สัตว์ประหลาดทะเล" เนื้อหา [ซ่อน] 1 ลักษณะ 2 ชนิด 3 ความสำคัญต่อมนุษย์ 4 อ้างอิง [แก้]ลักษณะ ม้าน้ำ เป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ มีกระดูกหรือก้างมาห่อหุ้มเป็นเกราะอยู่ภายนอกตัวแทนเกล็ด ส่วนหางของแทนที่จะเป็นครีบสำหรับว่ายน้ำไปมาอย่างปลาชนิดอื่น กลับมีหางยาวเหมือนสัตว์เลื้อยคลาน มีไว้เพียงเพื่อเกี่ยวยึดตัวเองกับพืชน้ำหรือปะการังในน้ำ มีครีบอกและมีครีบบางใสตรงเอวอีกครีบหนึ่งช่วยโบกพัดกระพือ โดยครีบทั้ง 2 นี้จะโบกพัดด้วยความเร็วประมาณ 20-30 ครั้งต่อวินาที ทำให้เคลื่อนไหวไปมาได้อย่างช้า ๆ ซึ่งโดยปกติแล้วม้าน้ำมักจะว่ายน้ำเป็นไปในลักษณะขึ้น-ลง มากกว่าไปมาข้างหน้า-ข้างหลังเหมือนปลาชนิดอื่น โดยถือเป็นปลาที่ว่ายน้ำช้าที่สุดในโลกอีกด้วย โดยว่ายได้เพียง 0.06 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น[1] ปากยื่นยาวคล้ายท่อไม่มีกราม ตรงปลายมีที่เปิด ใช้สำหรับดูดกินอาหาร จำพวกแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ๆ ม้าน้ำ เหมือนกับปลาชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ในวงศ์เดียวกันนี้ คือ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายอุ้มท้อง โดยมีอวัยวะตรงบริเว๊ณหน้าท้องคล้ายถุง ใช้สำหรับเก็บไข่และฟักเป็นตัว เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ม้าน้ำตัวผู้จะปรับเปลี่ยนสีของลำตัวเพื่อดึงดูดม้าน้ำตัวเมีย จากนั้นตัวผู้จะใช้หางโอบกอดตัวเมียพร้อมกับแอ่นท้องประกบกับท้องเข้าหากัน ตัวเมียจะออกไข่ใส่ลงในถุงหน้าท้องของตัวผู้ และม้าน้ำตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกับไข่และฟักเป็นตัวอ่อนภายในถุงหน้าท้อง โดยใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 2 สัปดาห์ โดยจำนวนไข่ประมาณ 100-200 ฟอง มากที่สุดคือ 1,500 ฟอง ตามแต่ละชนิด เมื่อคลอด พ่อม้าน้ำก็จะบีบกล้ามเนื้อส่วนท้องและพ่นลูกม้าน้ำทั้งหมด ให้ออกจากกระเป๋าหน้าท้อง โดยที่ม้าน้ำมีพฤติกรรมแบบคู่เดียวตลอดทั้งชีวิต กล่าวคือ จะจับคู่อยู่กันเพียงตัวเดียว หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีอันเป็นไป ก็จะไม่หาคู่ใหม่[2] [แก้]ชนิด ม้าน้ำ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร ตามแต่ละชนิด โดยขนาดเล็กเช่น ม้าน้ำจำพวกม้าน้ำแคระ จะมีความยาวเพียง 2.5 เซนติเมตรเท่านั้น มีการแพร่กระจายพันธุ์ในทะเลเขตอบอุ่นทั่วทั้งโลก ปัจจุบันพบทั้งหมด 47 ชนิด[3] มีเพียงสกุลเดียว คือ Hippocampus ส่วนม้าน้ำที่พบได้ในน่านน้ำไทยมีประมาณ 6 ชนิด ได้แก่ ม้าน้ำดำ (H. kuda) หรือ ม้าน้ำธรรมดา จัดเป็นม้าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่พบได้ในน่านน้ำไทย มีลำตัวสีดำสนิท ส่วนใหญ่มักเปลี่ยนเป็นสีครีม, สีเหลือง และน้ำตาลแดง พบง่ายบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของอ่าวไทย ม้าน้ำหนาม (H. spinosissimus) อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำค่อนข้างลึกและสภาพน้ำค่อนข้างใส มีสีสันสวยงาม มักจะมีสีออกน้ำตาลแดง มีลายจุดสีออกขาว เป็นแถบกว้างคาดบริเวณลำตัว มีหนามมากค่อนข้างแหลมและยาว แต่มีขนาดเล็กกว่าม้าน้ำดำ ม้าน้ำสามจุด (H. trimaculatus) พบตามเขตชายฝั่งในฤดูหนาว มักปรากฏจุดดำประมาณ 3 จุด บริเวณส่วนบนของลำตัว จึงเป็นที่มาของชื่อ ม้าน้ำแคระ (H. mohnikei) มีขนาดเล็กที่สุด พบเห็นไม่บ่อยนัก ลำตัวตัวสีดำ อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง เกาะอยู่ตามสาหร่ายทะเล บริเวณที่เป็นพื้นทราย ม้าน้ำยักษ์ (H. kelloggi) หรือ ม้าน้ำใหญ่ เป็นม้าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีความยาวได้ถึง 28 เซนติเมตร ม้าน้ำหนามขอ (H. histrix) มีลักษณะที่แตกต่างไปจากชนิดอื่น คือ มีปากขนาดยาวกว่า มีหนามที่เหนือตาและมีส่วนหน้าที่ยาวอย่างเห็นได้ชัด มีหนามบนหัว หนามตามลำตัวและหางจะแหลม บริเวณปลายหนามจะมีสีดำเข้ม เมื่อเอามือไปสัมผัสจะรู้สึกว่าเกี่ยวติดมือ หนามที่หางมีความยาวเท่า ๆ กัน [แก้]ความสำคัญต่อมนุษย์ ม้าน้ำ เป็นปลาที่นิยมทำเป็นยาจีนตามตำราการแพทย์แบบจีน ด้วยเชื่อว่าบำรุงกำลังและเสริมสมรรถนะทางเพศ โดยจะทำไปตากแห้งและขายเป็นชั่งน้ำหนักขาย ทำให้ม้าน้ำทั่วโลกในปีหนึ่ง ๆ ถูกจับเป็นจำนวนมากเพื่อการนี้ และยังถูกนำไปทำเป็นเครื่องประดับอีก จนกลายทำให้เป็นสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์ในบางชนิด นอกจากนี้แล้ว ความที่เป็นปลาที่มีรูปร่างแปลก มีขนาดเล็กน่ารัก ทำให้เป็นที่นิยมเลี้ยงของผู้ที่นิยมการเลี้ยงปลาตู้ด้วย ซึ่งในปัจจุบัน มีม้าน้ำบางชนิดสามารถนำมาเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว[4] [แก้]อ้างอิง ^ ปลาทะเลตอนที่ 2, แฟนพันธุ์แท้ รายการ: ศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2549 ทางช่อง 5 ^ "ม้าน้ำ" ปลาประดับมีชีวิต โดยอุราณี ทับทอง ^ จากFishbase.org ^ การเพาะเลี้ยงม้าน้ำ

ปูก้ามดาบ

ปูก้ามดาบ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ปูก้ามดาบ ปูก้ามดาบไม่ทราบชนิด (Uca sp.) ตัวผู้ การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Animalia ไฟลัม: Arthropoda Subphylum: Crustacea ชั้น: Malacostraca อันดับ: Decapoda อันดับฐาน: Brachyura วงศ์: Ocypodidae สกุล: Uca Leach, 1814 ชนิด ประมาณ 100 ชนิด ปูก้ามดาบ หรือ ปูเปี้ยว (อังกฤษ: Fiddler crab, Ghost crab) เป็นปูทะเลขนาดเล็กสกุลหนึ่ง อยู่ในสกุล Uca ในวงศ์ Ocypodidae เนื้อหา [ซ่อน] 1 ลักษณะ 2 ถิ่นที่อยู่ 3 อ้างอิง 4 แหล่งข้อมูลอื่น [แก้]ลักษณะ มีลักษณะโดยรวมคือ กระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีก้านตายาว กระดองมีสัสันสวยงามต่าง ๆ ตัวผู้มีลักษณะเด่นอันเป็นที่มาของชื่อเรียก คือ มีก้ามข้างใดข้างหนึ่ง ขึ้นอยู่กับชนิดใหญ่กว่าอีกข้างอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะใช้ก้ามข้างนี้ในการโบกไปมาเพื่อขู่ศัตรูและเรียกร้องความสนใจจากตัวเมีย อีกทั้งยังใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้กันอีกด้วย ขณะที่ปูตัวเมียก้ามทั้ง 2 ข้างจะเล็กเท่ากัน [แก้]ถิ่นที่อยู่ ปูก้ามดาบอาศัยอยู่ในป่าชายเลนหรือหาดทรายริมทะเล พบได้ทั่วไปในเขตแอฟริกาตะวันตก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรแปซิฟิก และอินโด-แปซิฟิก โดยใช้ก้ามข้างเล็กนั้นคีบหาอาหารและป้อนอาหารเข้าปาก อาศัยโดยการขุดรูอยู่ ต่อเมื่อน้ำลงก็จะออกมาหาอาหาร โดยเวลาจะลงรูจะใช้ข้างที่เล็กกว่าลงก่อน ซึ่งก้ามข้างที่ใหญ่ขึ้น เมื่อขาดไป ข้างที่เล็กกว่าจะใหญ่ขึ้นมาแทน และข้างที่เคยใหญ่ขึ้นอาจงอกมาเป็นเล็กกว่าหรือสลับกันไปก็ได้ ปูก้ามดาบ เป็นปูขนาดเล็กที่ไม่ใช้บริโภคกันเหมือนปูทะเลชนิดอื่น แต่ด้วยความที่มีสีสันสวยงาม และรูปลักษณ์ที่แปลก จึงนิยมนำมาเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง[1] ปูก้ามดาบเวลาผสมพันธุ์ ตัวเมียอาจเลือกตัวผู้เป็นร้อยตัว เมื่อจับคู่ได้แล้ว ตัวผู้จะเป็นฝ่ายนำตัวเมียลงไปผสมพันธุ์ในรู และตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลตัวเมียและไข่ที่บริเวณปากรู รอจนกว่าให้ตัวเมียฟักไข่จนออกมาเป็นตัวสมบูรณ์[2] สำหรับในประเทศไทยพบปูก้ามดาบทั้งได้หมด 11 ชนิด ทั้งด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จากทั้งหมดประมาณ 100 ชนิด ใน 9 สกุลย่อย ที่พบได้ทั่วโลก[3] เช่น ปูก้ามดาบก้ามยาว (Uca spingata) และปูก้ามดาบก้ามขาว (U. perplexa) เป็นต้น[4] [แก้]อ้างอิง ^ Fiddler Crabs as Pets (อังกฤษ) ^ รายการ นักสำรวจ ตอน ปูก้ามดาบ ทางช่อง 3 ^ "Systema Brachyurorum: Part I. An annotated checklist of extant Brachyuran crabs of the world" เอกสารดาวน์โหลด (อังกฤษ) ^ ชนิดและลักษณะของปูก้ามดาบ

ปูราชินี

ปูราชินี จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ปูราชินี สถานะการอนุรักษ์ ใกล้สูญพันธุ์ (IUCN 3.1)[1] การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Animalia ไฟลัม: Arthropoda ชั้น: Actinopterygii อันดับ: Decapoda วงศ์: Potamidae สกุล: Thaiphusa สปีชีส์: T. sirikit ชื่อวิทยาศาสตร์ Thaiphusa sirikit (Naiyanetr, 1992) ปูราชินี หรือ ปูสามสี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thaiphusa sirikit) เป็นปูประเภทหนึ่งพบได้ตามภูเขา ถูกพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2527 บริเวณจังหวัดนราธิวาส โดย นายสุรพล ดวงแข และว่าที่ ร้อยตรี พิทักษ์ ชิดเครือ ตำแหน่ง หัวหน้าหน่วยทหารพราน (กองทัพภาคที่ 4) ปูราชินีมีปากและขามีสีแดงและส้ม ก้ามมีสีขาว และกระดองมีสีน้ำเงินอมม่วง เชื่อว่าสามารถเปลี่ยนสีได้เรื่อย ๆ ตามฤดูกาล ตัวเต็มวัยมีขนาดประมาณ 12.5 มิลลิเมตร โดยทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขออนุญาตใช้ชื่อ สิริกิติ์ เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติและเฉลิมฉลองครบรอบ 5 รอบของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และได้ทรงพระราชทานให้ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ปัจจุบันพบเป็นปูประจำถิ่นในป่าพรุน้ำจืดบริเวณลุ่มน้ำน้อย อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ และอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และไม่เคยมีรายงานพบที่อื่นอีกเลย มีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 [แก้]อ้างอิง ปูราชินี ราชินีแห่งทองผาภูมิตะวันตก

ปูจั๊กจั่น

ปูจั๊กจั่น จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ปูจั๊กจั่น การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Animalia ไฟลัม: Arthropoda Subphylum: Crustacea ชั้น: Malacostraca อันดับ: Decapoda วงศ์: Raninidae สกุล: Ranina Lamarck, 1801 สปีชีส์: R. vanima ชื่อวิทยาศาสตร์ Ranina vanima (Linnaeus, 1758) ชื่อพ้อง Cancer ranina Linnaeus, 1758 Ranina dentata Latreille, 1825 Ranina serrata Lamarck, 1801 Ranina cristata Desjardins, 1835 Albunea scabra Weber, 1795 (ชื่อตั้งไร้คำบรรยาย) ปูจั๊กจั่น (อังกฤษ: Red Frog Crab, Spanner Crab, Kona Crab; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ranina vanima) เป็นปูในวงศ์ Raninidae ถิ่นที่อยู่ตั้งแต่หมู่เกาะฮาวาย, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, ไทย จนไปถึงหมู่เกาะอินโดนีเซีย และ แอฟริกาตะวันออก จัดเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ranina[1] [แก้]ลักษณะทั่วไป มีกระดองทรงรีรูปไข่กว้างทางด้านข้างขอบกระดอง ด้านหน้ามีหนามแหลม เป็นกลุ่มจำนวน 7 กลุ่ม กลุ่มละ 3 อัน ด้าน บนมีหนามแหลมแข็งขนาดเล็ก ปลายหนามชี้ไปทางส่วนหัว ปกคลุมทั่วไป มีก้านตายาว และตั้งขึ้นสามารถพับเก็บลงในร่องทางด้านหน้าไต้กระดองตากระเปาะทรงรีอยู่ปลายก้านตา มีหนวด 2 คู่ ขนาดเล็กสั้นหนวดข้างหนึ่งแยก 2 เส้น ส่วนอีกคู่หนึ่งมีฐานเป็นแผ่นแข็งมีขนขึ้นโดยรอบ ระยางค์ปากมีขนาดใหญ่แข็งแรง มีก้ามหนีบขนาดใหญ่ ปลายก้ามหันเข้าหากัน ฟันในส่วน ของก้ามหนีบด้านละ 6-7 อัน มีขาเดิน 4 คู่ สองคู่แรก มีปลายคล้ายใบหอก ส่วนสองคู่หลัง ปลายแบนคล้ายพาย ลักษณะลำตัวเป็นปล้อง 6 ปล้อง ขนาดเล็กต่อจากปลายกระดองม้วนด้านล่าง ปล้องสุดท้ายมีแพนหางรูปสามเหลี่ยม ตอนท้ายมีขาว่ายน้ำ 1 คู่ ลำตัวด้านล่างมีสันนูน (เพศเมียจะเห็นได้ชัดเจน) มีขาสีน้ำตาลค่อน ข้างรอบขอบกระดอง เพศผู้จะเห็นชัดเจนลำตัวกับขาเดิน มีสีส้มอมแดงหรือน้ำตาล ส่วนท้องมีสีขาวขอบกระดอง หน้าและหลังมีสีขาวเช่นเดียวกัน ตามีหลายสี เช่น ดำ, เหลือง หรือน้ำตาล มีความยาวประมาณ 7-15 เซนติเมตร (ตัวผู้ประมาณ 7-14 เซนติเมตร ตัวเมียประมาณ 5-8 เซนติเมตร) พบตามชายฝั่งที่เป็นโขดหิน แหล่งที่อยู่อาศัยชอบหมกตัวกับพื้นที่เป็นทรายรอบกองหินหรือแนวหินใต้น้ำระดับน้ำลึกประมาณ 60 เมตร กินอาหารที่เป็นซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย เป็นปูที่นิยมใช้รับประทานเป็นอาหาร

ปูทะเล

ปูทะเล จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ปูทะเล ปูทะเลมีชีวิตในตลาดสดที่ออสเตรเลีย สถานะการอนุรักษ์ ความเสี่ยงต่ำ (IUCN 3.1) การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Animalia ไฟลัม: Arthropoda Subphylum: Crustacea ชั้น: Malacostraca อันดับ: Decapoda อันดับฐาน: Brachyura วงศ์: Portunidae สกุล: Scylla สปีชีส์: S. serrata ชื่อวิทยาศาสตร์ Scylla serrata (Forsskål, 1775) ปูทะเล หรือ ปูดำ (อังกฤษ: Serrated mud crab, Mangrove crab, Black crab, Giant mud crab; ชื่อวิทยาศาสตร์: Scylla serrata) เป็นปูชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในทะเล มีกระดองกลมรีเป็นรูปไข่ สีดำปนแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมนำมาปรุงสดเป็นอาหาร เนื้อหา [ซ่อน] 1 ลักษณะ 2 การขยายพันธุ์ 3 การกระจายพันธุ์และความสำคัญต่อมนุษย์ 4 อ้างอิง [แก้]ลักษณะ มีลักษณะกระดองกลมรีเป็นรูปไข่ สีดำปนแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม ขอบระหว่างนัยน์ตามีหนาม 4 อัน ส่วนด้านข้างนัยน์ตาแต่ละข้างมีหนามข้างละ 8-9 อัน ก้ามจะมีหนามแหลม ส่วนขาอื่น ๆ ไม่มีหนาม ตัวผู้จะมีก้ามขนาดใหญ่แข็งแรงกว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด เจริญเติบโตด้วยวิธีการลอกคราบ โดยตรงขอบหลังของกระดองจะเผยออกให้เห็นกระดองใหม่ยังเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ ซึ่งเรียกว่า ปูสองกระดอง ถ้าหากเป็นตัวเมียที่มีความสมบูรณ์เพศจะมีไข่อยู่ในกระดอง ซึ่งพบมากในเดือนพฤศจิกายน ปลายสุดของขาคู่ที่ 2-4 มีลักษณะแหลมเรียกว่า "ขาเดิน" ทำหน้าที่ในการเดินเคลื่อนที่ ส่วนขาคู่ที่ 5 เป็นคู่สุดท้ายเรียกว่า "ขาว่ายน้ำ"ตอนปลายสุดของขาคู่นี้มีลักษณะแบนคล้ายใบพาย ใช้สำหรับว่ายน้ำ ปูที่เกิดใหม่ จะใช้เวลาลอกคราบจนกระทั่งกระดองแข็งแรงแล้วออกมาหากินได้ ใช้เวลาประมาณ 7 วัน การเจริญเติบโตจนถึงวัยเจริญพันธุ์ใช้เวลาประมาณ 1.5 ปี ตัวผู้ขนาดโตเต็มที่อาจหนักได้ถึง 3.5 กิโลกรัม ขนาดกระดองกว้างกว่า 24 เซนติเมตร ปูทะเลในบางแหล่งจะมีสีสันที่แตกต่างกันออกไปมากมาย ทั้ง สีเขียวหม่น, สีฟ้า, สีขาวอ่อน ๆ หรือสีเหลือง ซึ่งปูเหล่านี้จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ปูทองโหลง, ปูทองหลาง, ปูขาว เป็นต้น[1] [แก้]การขยายพันธุ์ ฤดูกาลวางไข่ผสมพันธุ์ของปูทะเลอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม แม่ปูจะมีไข่ในระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม สามารถ วางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยจะวางไข่ชุกชุมในระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม ไข่ของปูทะเลจะมีสีส้มแดง เมื่อไข่แก่ขึ้นจะเป็นสีน้ำตาลเกือบดำ ซึ่งจะถูกปล่อยออกมานอกกระดองบริเวณใต้จับปิ้ง[2] [แก้]การกระจายพันธุ์และความสำคัญต่อมนุษย์ พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแถบชายฝั่งของแอฟริกา, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงออสเตรเลีย โดยอาศัยอยู่ในโคลนตมตามป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำที่น้ำท่วมถึง กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก ซากพืช ซากสัตว์ต่าง ๆ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ปูทะเลนั้นมีความสำคัญต่อมนุษย์ในฐานะของสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมนำมาปรุงสดเป็นอาหาร เช่น ปูผัดผงกะหรี่, ปูนึ่ง เป็นต้น โดยทางการ ได้แก่ กรมประมง สนับสนุนให้เกษตรกรเพาะเลี้ยง โดยมักจะเลี้ยงในกระชังใกล้กับทะเล ปูทะเลเป็นที่นิยมรับประทานอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเวลาที่กำลังลอกคราบเพราะเนื้อปูจะนิ่ม กระดองยังไม่แข็งเท่าไหร่ ซึ่งเรียกว่า "ปูนิ่ม"[3] คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ: ปูทะเล [แก้]อ้างอิง ^ ปูทะเล ^ การเพาะเลี้ยงปูทะเล ^ สารคดีเกษตร ปูนิ่ม

ปู

ปู จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ปู ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: จูแรสซิก-ปัจจุบัน ปูทะเล (Scylla serrata) การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Animalia ไฟลัม: Arthropoda Subphylum: Crustacea ชั้น: Malacostraca อันดับ: Decapoda อันดับย่อย: Pleocyemata อันดับฐาน: Brachyura Linnaeus, 1758 กลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย Dromiacea Raninoida Cyclodorippoida Eubrachyura Heterotremata Thoracotremata [1] ปู (อังกฤษ: Crab) เป็นสัตว์พวกเท้าปล้องชนิดหนึ่ง อยู่ในไฟลัมอาโทรโพดา ในอันดับฐานบราชีอูรา (Brachyura) มีลักษณะสิบขา มีหลายชนิดที่อยู่ทั้งน้ำจืดและทะเล รวมถึงอยู่แต่เฉพาะบนบก ปูจะมีกระดองซึ่งเป็นแคลเซี่ยมแข็ง มีลักษณะสมมาตร แอบโดเมนพับลงไปอยู่ใต้กระดอง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอันดับฐานนี้ มีก้าม ใหญ่ 1 คู่ มีขาเดิน 4 คู่ แตกออกเป็นรัศมีไปทางด้านข้างลำตัว หนวดคู่ที่ 2 อยู่ระหว่างตา ส่วนหาง ไม่มีหน้าที่ชัดเจน และไม่มีแพนหาง ปูในแนวปะการังมีหลายกลุ่มหลายรูปร่างโดยสัมพันธ์กับพฤติกรรม ปูหลายชนิดอาศัยตามพื้นทราย จะมีขาว่ายน้ำหรือกรรเชียงคล้ายปูม้า บางชนิดตัวใหญ่ มีกระดองแข็งคล้ายปูทะเล มีขาสั้นและแข็งแรงเพื่อเกาะยึดกับหิน เช่นปูใบ้ก้ามดำ [2] ปูบางชนิดมีรูปร่างแปลกเพื่อพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม บางชนิดมีสีและลักษณะกระดองเหมือนกัลปังหา ปะการังอ่อน หรือดาวขนนก ในจำนวนนี้ยังมีปูที่นำฟองน้ำหรือสาหร่ายมาติดตามตัวเพื่อใช้พรางกาย [2] ปูกลุ่มหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมากกว่ากลุ่มอื่นคือ ปูเสฉวนจะเปลี่ยนส่วนท้องให้นิ่มและขดงอเพื่อสามารถเข้าไปอยู่ในเปลือกหอย นำเปลือกหอยติดตัวไปด้วยตลอดเวลา ซึ่งจะจัดอยู่ในอันดับฐานปูปลอม (Anomura)[2] ปัจจุบันปูได้รับการจำแนกไว้แล้วว่า 6,000 ชนิด ส่วนใหญ่พบในแถบอินโด-แปซิฟิก ในประเทศไทยพบแล้วรวม 824 ชนิด[3]

ฉลามวาฬ

ปลาฉลามวาฬ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ฉลามวาฬ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 60–0 Ma PreЄЄOSDCPTJKPgN ปลาฉลามวาฬจากไต้หวันในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอร์เจีย เปรียบเทียบขนาดกับมนุษย์ สถานะการอนุรักษ์ ไม่มั่นคง (IUCN 2.3)[1] การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Animalia ไฟลัม: Chordata ชั้น: Chondrichthyes ชั้นย่อย: Elasmobranchii อันดับ: Orectolobiformes วงศ์: Rhincodontidae (Müller and Henle, 1839) สกุล: Rhincodon Smith, 1829 สปีชีส์: R. typus ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhincodon typus (Smith, 1828) พิสัยของปลาฉลามวาฬ ปลาฉลามวาฬ (อังกฤษ: Whale shark) เป็นปลาฉลามเคลื่อนที่ช้าที่กินอาหารแบบกรองกิน เป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุด ยาวถึง 12.65 ม. หนัก 21.5 ตัน แต่มีรายงานที่ไม่ได้รับยืนยันว่ายังมีปลาฉลามวาฬที่ใหญ่กว่านี้ เป็นปลาชนิดเดียวในสกุล Rhincodon และวงศ์ Rhincodontidae (ก่อนปี ค.ศ. 1984 ถูกเรียกว่า Rhinodontes) ซึ่งเป็นสมาชิกในชั้นย่อย Elasmobranchii ในชั้นปลากระดูกอ่อน ปลาฉลามวาฬพบได้ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น อาศัยอยู่ในทะเลเปิด มีช่วงอายุประมาณ 70 ปี[2] ปลาฉลามชนิดนี้กำเนิดเมื่อประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว อาหารหลักของปลาฉลามวาฬคือแพลงก์ตอน ถึงแม้ว่ารายการแพลนเน็ตเอิร์ธของบีบีซีจะถ่ายภาพยนตร์ขณะที่ปลาฉลามวาฬกำลังกินฝูงปลาขนาดเล็กไว้ได้[3] เนื้อหา [ซ่อน] 1 ศัพทมูลวิทยา 2 การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย 3 ลักษณะ 4 อาหาร 5 อ้างอิง 6 แหล่งข้อมูลอื่น [แก้]ศัพทมูลวิทยา ปลาฉลามวาฬมีชื่อเสียงในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1828 ตามตัวอย่างยาว 4.6 ม.ที่จับได้ด้วยฉมวกในอ่าวเทเบิล ประเทศแอฟริกาใต้ หมอทหารที่ชื่อ แอนดริว สมิท (Andrew Smith) ได้ร่วมกับค่ายทหารของอังกฤษในเคปทาวน์บรรยายและจำแนกปลาฉลามวาฬในปีถัดมา[4] เขาตีพิมพ์ลักษณะรายละเอียดมากขึ้นในปี ค.ศ. 1849 ชื่อ "ฉลามวาฬ" มากจากลักษณะของปลาที่มีขนาดใหญ่เหมือนวาฬและยังกินอาหารแบบกรอกกินเหมือนกันอีกด้วย ในความเชื่อในศาสนาของชาวเวียดนาม นับถือปลาฉลามวาฬเป็นเทพเจ้า โดยเรียกว่า "Ca Ong" ซึ่งแปลว่า "ท่านปลา" ในประเทศเม็กซิโกและละตินอเมริกาส่วนมาก ปลาฉลามวาฬถูกรู้จักกันในชื่อ "pez dama" หรือ "domino" มาจากจุดที่เด่นชัดบนตัวมัน ในประเทศเบลีซ รู้จักกันในนาม "Sapodilla Tom" เพราะมักจะพบปลาฉลามวาฬอย่างสม่ำเสมอ ใกล้กับ Sapodilla Cayes ในกำแพงโขดหินแห่งเบลีซ (Belize Barrier Reef) ในทวีปแอฟริกา ชื่อของปลาฉลามวาฬถูกเรียกกันหลากหลาย: ประเทศเคนยาเรียกว่า "papa shillingi" มาจากตำนานที่ว่าเทพเจ้าได้ขว้างเหรียญเงินลงไปบนตัวปลาฉลามซึ่งได้กลายเป็นจุดของมันในปัจจุบัน ประเทศมาดากัสการ์เรียกว่า "marokintana" หมายถึง "ดาวหลายดวง" ชาวชวาก็อ้างอิงถึงดวงดาวด้วยเช่นกัน จึงเรียกปลาฉลามวาฬว่า "geger lintang" แปลว่า "มีดาวอยู่บนหลัง" ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า "butanding" [แก้]การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย ปลาฉลามวาฬอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น ตามผิวทะเล นอกจากนี้ในฤดูที่มีปรากฏการณ์การรวมตัวกันของแหล่งอาหารใกล้แนวชายฝั่งสามารถพบฉลามวาฬได้เช่นกัน เช่นใน โกลด์เดน สพิต (Gladden Spit) ในประเทศเบลีซ; แนวโขดหินนิงกาโล (Ningaloo Reef) ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย; อูตีลา (Útila) ใน ประเทศฮอนดูรัส; โดนโซล (Donsol), พาซาจาโอ (Pasacao) และ บาตันกัส (Batangas) ใน ประเทศฟิลิปปินส์; ชายฝั่งอิสลา มูเคร์เรส (Isla Mujeres) และอิสลา ออโบซ (Isla Holbox) ในยูคตัน (Yucatan) ประเทศเม็กซิโก; อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอนในประเทศอินโดนีเซีย; โนซี บี (Nosy Be) ในประเทศมาดากัสการ์ รอบแนวโขดหินโตโฟ (Tofo) ใกล้กับอินอัมบันเน (Inhambane)ในประเทศโมซัมบิก, และเกาะมาเฟีย (Mafia), เพมบา (Pemba) และ แซนซิบาร์ ในประเทศแทนซาเนีย ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วจะพบอยู่ห่างจากชายฝั่ง แต่ก็มีการพบปลาฉลามวาฬใกล้แผ่นดินเช่นกัน อย่างในทะเลสาบหรือเกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากหินปะการัง และใกล้กับปากแม่น้ำ โดยมีพิสัยจำกัดอยู่ในเส้นรุ้งประมาณ ±30° ความลึกไม่เกิน 700 ม. และท่องเที่ยวเร่ร่อนไปทั่ว[2] [แก้]ลักษณะ ลักษณะของฉลามวาฬที่แตกต่างจากฉลามที่เรารู้จักกันคือ หัวที่ใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว และปากที่อยู่ด้านหน้าแทนที่จะอยู่ด้านล่าง ฉลามวาฬ เกือบทั้งหมดที่พบมีขนาดใหญ่กว่า 3.5 เมตร ใช้เหงือกในการหายใจ มีช่องเหงือก 5 ช่อง มีครีบอก 2 อัน ครีบหาง 2 อัน และ ครีบก้น(หาง) 1 อัน หางของฉลามวาฬ อยู่ในแนวตั้งฉาก และโบกไปมาในแนวซ้าย-ขวา แตกต่างจากสัตว์เลือดอุ่นในทะเลที่หางอยู่ในแนวขนานและหายใจด้วยปอด อาทิ วาฬ โลมา พะยูน เป็นต้น [แก้]อาหาร กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แต่ลักษณะการกินอาหารไม่ใช่ปัจจัยที่นักวิทยาศาสตร์ใช้แบ่งฉลามวาฬออกจากฉลามชนิดอื่น ๆ เนื่องจากยังมีฉลามอีก 2 ชนิดที่ กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารแต่อยู่คนละอันดับกับฉลามวาฬ [แก้]อ้างอิง ^ Norman, Brad (2000). Rhincodon typus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes justification for why this species is vulnerable. ^ 2.0 2.1 Ed. Ranier Froese and Daniel Pauly. "Rhincodon typus". FishBase. http://www.fishbase.org/Summary/SpeciesSummary.php?id=2081. เรียกข้อมูลเมื่อ 17 September 2006. ^ Jurassic Shark (2000) documentary by Jacinth O'Donnell; broadcast on Discovery Channel, August 5, 2006 ^ Martin, R. Aidan. "Rhincodon or Rhiniodon? A Whale Shark by any Other Name". ReefQuest Centre for Shark Research. http://elasmo-research.org/education/topics/ng_rhincodon_or_rhiniodon.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-09-12. J. G. Colman (1997). A review of the biology and ecology of the whale shark. Journal of Fish Biology 51 (6), 1219–1234. FAO web page on Whale shark [แก้]แหล่งข้อมูลอื่น คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ: ปลาฉลามวาฬ Whale Shark Photo-identification Library Maldives Whale Shark Research Program Report a whale shark sighting How to photograph a whale shark for mark-recapture research Whale shark research discussion forum Whale Sharks: Gentle Giants of the Seas Whale Shark research in Mozambique Whale Shark Project Albino whale shark photographed in Galapagos A whale shark recorded defecating

ฉลามขาว

ฉลามขาว สถานะการอนุรักษ์ ไม่มั่นคง (IUCN 2.3) การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ โดเมน: Eukarya อาณาจักร: Animalia ไฟลัม: Chordata ชั้น: Chondrichthyes ชั้นย่อย: Elasmobranchii อันดับ: Lamniformes วงศ์: Lamnidae สกุล: Carcharodon Smith, 1838 สปีชีส์: C. carcharias ชื่อวิทยาศาสตร์ Carcharodon carcharias (Linnaeus, 1758) ถิ่นที่อยู่อาศัย (สีน้ำเงิน) ปลาฉลามขาว (อังกฤษ: Great white shark) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง มีขนาดตัวที่ค่อนข้างใหญ่ พบได้ตามเขตชายฝั่งแถบทะเลใหญ่ มีความยาวประมาณ 6 เมตร น้ำหนักประมาณ 2250 กิโลกรัม ทำให้ปลาฉลามขาวเป็นปลานักล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสิ่งมีชีวิตสปีชี่ส์เดียวในสกุล Carcharodon ที่ยังเหลืออยู่ เนื้อหา [ซ่อน] 1 วิวัฒนาการ 2 ขนาด 3 ถิ่นที่อยู่อาศัย 4 พฤติกรรมการล่า 5 พฤติกรรมทั่วไป 6 ปลาฉลามขาวกับมนุษย์ 7 ทัวร์ปลาฉลามขาว 8 ดูเพิ่ม 9 อ้างอิง [แก้]วิวัฒนาการ ภาพปลาฉลามขาวบนผิวน้ำ ปลาฉลามขาวมีความสามารถคล้ายกับปลาฉลามสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีอวัยวะรับสัมผัสพิเศษ ที่สามารถตรวจจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากปลาที่มีชีวิต ที่เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ ทุกครั้งที่สิ่งมีชีวิตเคลื่อนไหวอยู่ใต้ผิวน้ำ จะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา และปลาฉลามขาวมีสัมผัสไวเป็นพิเศษ ที่สามารถตรวจจับได้แม้มีความแรงเพียง 1/1000,000,000 โวลท์ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับสามารถตรวจจับแสงแฟลชได้ในระยะ 1600 กิโลเมตร ปลาชนิดอื่นๆ ส่วนมากไม่มีพัฒนาการถึงระดับนี้ แต่มีความสามารถที่คล้ายๆ กันนี้ ที่ลายด้านข้างลำตัว การที่ปลาฉลามขาวจะประสบความสำเร็จในการล่าเหยื่อ ที่มีความว่องไวสูงอย่างสิงโตทะเล สัตว์เลือดเย็น อย่างปลาฉลามขาวได้พัฒนา ระบบรักษาความร้อนภายในร่างกาย ให้สามารถรักษาอุณหภูมิให้สูงกว่าอุณหภูมิของน้ำภายนอกได้ โดยใช้ Rete mirabile ซึ่งเส้นใยเส้นเลือด ที่มีอยู่รอบตัวของปลาฉลามขาวนี้ จะรักษาความร้อนของเลือดแดงที่เย็นตัวลง ด้วยเลือดดำที่อุ่นกว่าจากการใช้พลังงานของกล้ามเนื้อ ความสามารถนี้ทำให้ปลาฉลามขาวรักษาระดับอุณหภูมิในตัว สูงกว่าอุณหภูมิน้ำทะเลรอบตัวประมาณ 14ํC (เมื่อล่าในเขตหนาวจัด) โดยที่หัวใจและเหงือกยังคงอยู่ที่อุณหภูมิของระดับน้ำทะเล ปลาฉลามขาวสามารถอดอาหารได้นานราว 1 สัปดาห์โดยที่ช่วงนั้นไม่ต้องกินอะไร อุณหภูมิของร่างกายส่วนใหญ่ สามารถลดต่ำลงจนเท่ากับอุณหภูมิของระดับน้ำทะเล อย่างไรก็ตาม ก็ยังจัดว่าปลาฉลามขาวป็นสัตว์เลือดเย็นอยู่ดี เพราะว่าอุณหภูมิของร่างกายไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมโดยรอบ [แก้]ขนาด ปลาฉลามขาวตัวเต็มวัย จะมีขนาดประมาณ 4-4.8 เมตร หนักประมาณ 880-1100 กิโลกรัม ตัวเมียมักจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ขนาดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ ยังเป็นที่สงสัยอยู่ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้พยายามรวบรวมข้อมูลเท่าทีมี แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ ทุกวันนี้ ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ขนาดตัวปกติของปลาฉลามขาวที่โตเต็มที่ จะอยู่ราวๆ 6 เมตร หนักประมาณ 1900 กิโลกรัม ในช่วง 10 ปีนี้ กินเนสบุ๊ค ออฟ เวิลด์เรคคอร์ด (Guinness Book of World Records) ได้บันทึกปลาฉลามขาวที่ตัวใหญ่ที่สุดไว้ได้ 2 ตัวซึ่งตัวหนึ่งยาว 11 เมตรจับได้ที่ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย ใกล้กับพอท แฟร์รี่ (Port Fairy) ในปี 1870 และอีกตัวหนึ่ง ยาว 11.3 เมตร ติดอวนชาวประมงที่เมือง New Brunswick ประเทศแคนาดา ในปี 1930 จากข้อมูลนี้เอง จึงนำมาประเมินขนาดมาตรฐานของ ปลาฉลามขาวปกติที่โตเต็มวัย นักวิทยาศาสตร์บางท่านได้ตั้งคำถาม เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือในการวัทั้งสองครั้งนั้น ซึ่งไม่มีบันทึกใด มีขนาดที่ใกล้เคียงกับ 2 กรณีที่พบนี้เลย ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา จึงมีข้อสงสัยที่ว่า การบันทึกที่เมือง New Brunswick อาจเป็นการบันทึกที่มีการเข้าใจผิดในสายพันธุ์ ซึ่งสงสัยว่าน่าจะเป็นปลาฉลามสายพันธุ์อื่น (Basking shark) มากกว่า และทั้งสองตัวที่ถูกบันทึกก่อนหน้านี้ ก็มีขนาดที่ใกล้เคียงกัน ข้อสงสัยนี้ด้รับการพิสูจน์โดย เจ.อี. โรนัลด์ (J.E. Reynolds) การประเมินขนาดด้วยกราม ซึ่งหลักฐานที่เหลือจากค้นพบครั้งนั้นคือ กระดูกกรามที่เก็บรักษาไว้ ซึ่งผลการประเมินคาดว่าขนาดของฉลามที่พบใน พอท เฟอร์รี่ น่าจะยาวประมาณ 5 เมตร ซึ่งสันนิษฐานว่าจะมีการบันทึกขนาดผิดพลาด ในบันทึกต้นฉบับ [แก้]ถิ่นที่อยู่อาศัย ภาพปลาฉลามขาว ปลาฉลามขาวอาศัยอยู่ตามแถบทะเลชายฝั่งเกือบทั่วทุกมุมโลก ที่มีอุณหภูมิระหว่าง 12ํC - 24ํC แต่จะอาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณอ่าวประเทศออสเตรเลีย ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา แคลิฟอเนีย และตอนกลางของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่ที่หนึ่งที่หนาแน่นที่สุดอยู่ที่ ไดร์เออร์ ไอร์แลนด์ (Dyer Island, South Africa) ที่แอฟริกาใต้ ทั้งยังสามารพบได้ในเขตร้อนแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ปลาฉลามขาวเป็นปลาน้ำลึก แต่ที่บันทึกจำนวน ส่วนมากจะมาจากการสำรวจแถบทะเลชายฝั่ง บริเวณที่มีสิงโตทะเล แมวน้ำ โลมาอาศัยอยู่ ได้มีความพยายามที่จะสำรวจในบริเวณน้ำลึก ถึงระดับ 1280 เมตร ผลปรากฏว่าจะพบมากบริเวณผิวน้ำมากกว่า [แก้]พฤติกรรมการล่า ภาพปลาฉลามขาวบนผิวน้ำ ปลาฉลามขาวเป็นสัตว์กินเนื้อ เหยื่อที่มันเลือกจะล่ามีปลา (รวมทั้งปลากระเบนและฉลามที่ตัวเล็กกว่า) ปลาโลมา แมวน้ำ สิงโตทะเล เต่าทะเล และเต่าตะหนุ ทั้งยังมีชื่อในเรื่องกินไม่เลือก แม้กระทั่งของที่กินไม่ได้ ปลาฉลามขาวที่ยาวประมาณ 3.4 เมตร จะเลือกเหยื่อที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านฉลาม ปีเตอร์ คลิมลี (Peter Klimley) ได้ทำการทดสอบโดยใช้เหยื่อเป็นซากแมวน้ำ หมูและแกะ ผลปรากฏว่าฉลามจู่โจมทุกครั้ง แต่กลับปฏิเสธซากเหยื่อที่ทั้ง 3 ชนิดที่ให้พลังงานน้อยกว่า ยังมีข้อถกเถียงว่าระหว่างปลาฉลามขาวกับวาฬเพชฌฆาต ว่าตัวไหนจู่โจมมนุษย์มากกว่ากัน ปลาฉลามขาวจะใช้สัมผัสพิเศษในการหาตำแหน่งเหยื่อจากระยะไกล และใช้สัมผัสในด้านการดมกลิ่น และการฟังเพื่อยืนยันตำแหน่งอีกที ในระยะประชิดฉลามจะใช้สายตาเป็นหลัก ปลาฉลามขาวมีชื่อเสียงในเรื่องเป็นนักล่าที่โหดร้าย เป็นเครื่องจักรสังหาร และมีเทคนิคในการซุ่มโจมตี โดยจู่โจมเหยื่อจากด้านล่าง จากการศึกษาพฤติกรรมพบว่า ปลาฉลามขาวจะจู่โจมบ่อยครั้งในช่วงตอนเช้า ภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากพระอาทิตย์ขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่ามีการพบเห็นปลาฉลามขาวน้อยลง หลังจากผ่านช่วงเวลานั้นไป อัตราความสำเร็จในการล่าช่วงเช้าอยู่ที่ 55% ในช่วง 2 ชั่วโมงแรก แล้วตกลงเหลือ 40% ในช่วงต่อมา หลังจากพ้นช่วงเช้าไปแล้วก็จะหยุดล่า เทคนิคการล่าของปลาฉลามขาวแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของเหยื่อ ในการล่าแมวน้ำปลาฉลามขาวจะจู่โจมแมวน้ำจากด้านล่างด้วยความเร็วสูง เล็งตรงกลางลำตัว ซึ่งความเร็วในการจู่โจมจะสูง จนกระทั่งฉลามกระโจนขึ้นเหนือผิวน้ำได้ และยังจะตามล่าต่อหลังจากที่จู่โจมครั้งแรกพลาดเป้าอีกด้วย สำหรับแมวน้ำบางชนิดปลาฉลามขาวจะใช้วิธีลากลงมาใต้น้ำ จนกระทั่งแมวน้ำหมดแรงดิ้น สำหรับสิงโตทะเลจะใช้วิธีจู่โจมที่ลำตัว แลวค่อยๆ ลากมากิน ทั้งยังมีวิธีกัดส่วนสำคัญที่ใช้ในการเคลื่อนไหว แล้วรอให้เลือดไหลจนตายอีกด้วย ซึ่งวิธีนี้ใช้จู่โจมแมวน้ำบางชนิด ส่วนในการล่าโลมา ปลาฉลามขาวจะจู่โจมจากด้านบน หรือด้านล่างเพื่อหลบหลีกการตรวจจับด้วยโซนาร์ของโลมา [แก้]พฤติกรรมทั่วไป ภาพปลาฉลามขาวเหนือผิวน้ำ ที่บริเวณประเทศเม็กซิโก พฤติกรรมและรูปแบบสังคมของปลาฉลามขาวยังไม่เป็นที่แน่ชัด จากการทดลองล่าสุดพบว่า ปลาฉลามขาวเป็นสัตว์สังคมมากกว่าที่เราคาด ที่แอฟริกาใต้ ปลาฉลามขาวจะเหมือนมีลำดับชั้นทางสังคม ขึ้นอยู่กับขนาด เพศ และตำแหน่งจ่าฝูง ตัวเมียจะมีอำนาจมากกว่า ตัวผู้ตัวใหญ่กว่าจะมีอำนาจมากกว่าตัวเล็กกว่า เจ้าถิ่นจะมีอำนาจมากกว่าผู้มาเยือน เมื่อมีการล่าจะสั่งการกันอย่างเป็นระบบ และเมื่อมีความขัดแย้งก็จะมีวิธีการ เพื่อหาทางออก แทนที่จะสู้กันถึงตาย ฉลามที่สู้กันเองพบเห็นน้อยมาก แต่บางครั้งก็พบฉลามตัว ที่มีรอยกัดซึ่งเป็นขนาดรอยฟันฉลามตัวอื่น ทำให้สันนิษฐานได้ว่าปลาฉลามขาวเป็นสัตว์ที่หวงแหนอานาเขต เมื่อมีผู้รุกราน ก็จะทำการเตือนด้วยการกัดเบาๆ เพื่อแสดงถึงความเป็นเจ้าของอาณาเขต ปลาฉลามขาวเป็นฉลามไม่กี่สายพันธุ์ ที่พบว่าสามารถโผล่หัวขึ้นมาเหนือน้ำและมองหาเหยื่อได้ และยังสามารถกระโจนขึ้นเหนือน้ำได้ (spy-hopping) มีข้อสงสัยว่าพฤติกรรมนี้ อาจเป็นพฤติกรรมที่เรียนรู้มาจากมนุษย์ เพราะว่าฉลามมีประสาทรับรู้กลิ่นที่ไวมาก เมื่อปลาฉลามขาวพบกับนักท่องเที่ยวที่มีกลิ่นตัวแรง มันก็มีความอยากรู้อยากเห็น และแสดงความฉลาดของมันออกมา เมื่อสถานการณ์อำนวย ฉลามขาวมีจมูกที่ไวต่อกลิ่นเลือดเป็นอย่างมาก เพราะฉลามขาวสามารถได้กลิ่นเลือดเพียง1หยดที่อยู่ไกลออกไปถึง 3 กิโลเมตร [แก้]ปลาฉลามขาวกับมนุษย์ ภาพปลาฉลามขาวใต้น้ำ เรื่องของปลาฉลามขาวจู่โจมมนุษย์ เป็นที่รู้จักกันมากผ่านทางภาพยนตร์ อย่างเช่นเรื่อง จอร์ (Jaws) ผลงานของสตีเว่น สปิวเบอร์ก (Steven Spielberg) แสดงให้เห็นถึงภาพฉลามที่โหดร้าย กินคน และเป็นอันตรายอย่างยิ่งกับมนุษย์ ให้ฝังในใจของผู้ชม ซึ่งอันที่จริงแล้วมนุษย์ไม่ใช่เหยื่อของฉลามตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีรายงานยืนยันฉลามจู่โจมมนุษย์เพียง 31 รายในรอบ 200 ปี และเป็นส่วนน้อยที่เสียชีวิต กรณีที่เสียชีวิตจะเป็นกรณีที่ฉลามลองกัดดูมากกว่า เพราะอยากรู้อยากเห็น ปลาฉลามขาวยังลองกัดพวกสิ่งของอื่นๆ เช่น ทุ่นลอยน้ำ และของที่มันไม่คุ้นเคยอื่นๆ และบางครั้งก็จะใช้เพียงริมฝีปากกัดโดนนักเล่นเซิร์ฟ เพราะอยากรู้ว่ามันเป็นอะไรกันแน่ ในกรณีอื่นๆ อาจเกิดขึ้นมาจากความเข้าใจผิด ที่จู่โจมนักเล่นเซิร์ฟจากด้านล่างเพราะเห็นเพียงเงา ดูแล้วคล้ายกับแมวน้ำ หลายกรณีเกิดขึ้นในช่วงที่ทัศนะวิสัย ไม่เอื่ออำนวยกับการมองเห็น และในกรณีที่ประสาทสัมผัสด้านอื่นมีประสิทธิภาพลดลง หรืออาจเป็นเพราะว่า สายพันธุ์ของปลาฉลามขาวไม่ค่อยถูกปากกับรสชาติของมนุษย์ หรือรสชาติไม่ค่อยคุ้นเคย อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์มีทฤษฎีที่ว่า ทำไมอัตราการจู่โจมมนุษย์ที่ร้ายแรงถึงต่ำ มันไม่ใช่เพราะว่าปลาฉลามขาวไม่ชอบเนื้อมนุษย์ แต่เป็นเพราะมนุษย์สามารถหนีขึ้นจากน้ำได้ หลังจากถูกจู่โจมครั้งแรก ในปี 1980 มีรายงานของ จอห์น แม็คคอสเกอร์ (John McCosker) บันทึกไว้ว่า นักดำน้ำที่ดำเดี่ยวคนหนึ่ง ถูกปลาฉลามขาวจู่โจมจนสูญเสียอวัยวะบางส่วนไป แต่ยังว่ายน้ำหนีมาจนได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ ให้ขึ้นมาจากน้ำได้ ก่อนที่จะถูกปลาฉลามขาวเผด็จศึก จึงสันนิษฐานได้ว่ารูปแบบการจู่โจมของปลาฉลามขาว คือ จู่โจมสร้างบาดแผลสาหัสก่อนในครั้งแรก แล้วรอให้เหยื่อหมดแรงหรือเสียเลือดจนตาย แล้วค่อยเข้าไปกิน แต่มนุษย์สามารถขึ้นจากน้ำได้ (อาจหนีขึ้นเรือ) ด้วยความช่วยเหลือของคนอื่น ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่คุ้นเคยสำหรับเหยื่อของปลาฉลามขาว ทำให้การจู่โจมครั้งนั้นล้มเหลวไป อีกสันนิษฐานหนึ่งก็คือ มนุษย์ไม่มีคุณค่าทางอาหารมากพอสำหรับปลาฉลามขาว เพราะว่าปลาฉลามขาวมีระบบการย่อยที่ค่อยข้างช้า และร่างกายของมนุษย์มีกระดูก กล้ามเนื้อและไขมันมากเกินไป ส่วนใหญ่ปลาฉลามขาวจะเป็นฝ่ายหมดความสนใจ มนุษย์ที่ถูกโจมตีครั้งแรกก่อนเอง และเหตุที่มนุษย์สียชีวิต ก็เพราะสูญเสียเลือดมากเกินไปจากการสูญเสียอวัยวะบางส่วน มากกว่าที่จะเป็นการสูญเสียอวัยวะสำคัญ หรือถูกกินทั้งตัว นักชีววิทยาบางคนให้ความเห็นว่า จำนวนผู้เสียชีวิตที่มีสาเหตุมาจากถูกปลาฉลามขาวจู่โจมในรอบ 100 ปี มีน้อยกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตที่ถูกสุนัขกัดเสียอีก แต่ความเห็นนี้ยังไม่ค่อยถูกต้องนัก เพราะว่ามนุษย์มีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสุนัขมากกว่าปลาฉลามขาว จึงมีโอกาสมากกว่าเมื่อเทียบกับฉลาม มนุษย์ได้มีความพยายามที่จะประดิษฐ์ชุดป้องกันฉลาม แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการป้องกันปลาฉลามขาว คือ อิเล็กทรอนิค บีคอน (electronic beacon) ซึ่งนักประดาน้ำและนักเล่นเซิร์ฟจะใช้กัน โดยมันจะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปรบกวนสัมผัสพิเศษของปลาฉลามขาว [แก้]ทัวร์ปลาฉลามขาว การล่อปลาฉลามขาว การดำน้ำในกรง กลายเป็นธุรกิจทัวร์ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ที่ต้องการความตื่นเต้นแบบใหม่ และผู้ที่ต้องการศึกษาปลาฉลามขาวอย่างใกล้ชิด ผู้มาชมปลาฉลามขาว จะอยู่ในกรงที่มั่นคงแข็งแรง ซึ่งจะเป็นจุดที่เห็นปลาฉลามขาวได้ชัดเจนที่สุด โดยที่ยังปลอดภัยอยู่ และเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสัตว์นักล่าที่ตัวใหญ่ และดุร้ายอย่างปลาฉลามขาว ย่อมเป็นสถานการณ์ที่ทำให้อดรีนาลีนฉีดพล่านไปทั่วร่างกาย เป็นประสบการณ์ที่น่าค้นหา ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตขึ้นอย่างมาก ในแถบอ่าวของออสเตรเลียที่มีพบปลาฉลามขาวบ่อยครั้ง วิธีการล่อปลาฉลามขาว คือ การใช้เหยื่อที่ชุ่มไปด้วยเลือดไปเป็นเป้าล่อ เรียกความสนใจของปลาฉลามขาว ซึ่งการกระทำดังกล่าว กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาก ว่าจำทำให้ปลาฉลามขาวเริ่มคุ้นเคยกับมนุษย์มากขึ้น และจะมีพฤติกรรมเข้าหามนุษย์แลกกับอาหาร ซึ่งจะเป็นสถานการณ์ที่อันตราย มีการกล่าวหาว่า การใช้เหยื่อที่ชุ่มด้วยเลือด ล่อให้ปลาฉลามขาวเข้ามาใกล้กรง อาจเป็นการยั่วโมโหให้ปลาฉลามขาวจู่โจมกรง จึงได้มีการเลี่ยงให้ใช้เหยื่อล่อให้ค่อนข้างห่างกรงออกไป เพื่อที่ปลาฉลามขาวจะได้ว่ายผ่านไปเฉยๆ บริษัทที่ทำธุรกิจทัวร์ประเภทนี้ กล่าวว่า พวกเขาต้องตกเป็นแพะรับบาป ด้วยเหตุที่ผู้คนพยายามหาเหตุผลใส่ร้าย ว่าทำไมปลาฉลามขาวจึงจู่โจมมนุษย์ และยังบอกอีกว่า มีอัตราคนถูกฟ้าผ่าตาย มากกว่าอัตราคนที่ถูกฉลามเล่นงานเสียอีก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยในประเด็นนี้อย่างจริงจัง และสรุปผลให้ได้ว่าการล่อฉลามแบบนี้ จะทำให้พฤติกรรมของปลาฉลามขาวเปลี่ยนไป ก่อนที่จะออกกฎหมายห้ามการกระทำเช่นนี้ ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีคำแนะนำให้ผู้ที่ต้องการดำน้ำเพื่อชมปลาฉลามขาว ต้องทำการล่อในเขตที่ปลาฉลามขาวจะออกล่าเหยื่อเท่านั้น และต้องห่างจากเขตของคนทั่วไป ไม่ใช่ล่อให้ฉลามมาหาถึงที่ โดยฉลามที่มาจะเป็นเพียงฉลามที่ต้องการล่าซากที่เหลือเท่านั้น และเมื่อมันไม่ได้รับอาหาร มันก็จะจากไปเอง และจะไม่คิดว่าการล่อแบบนี้จะทำให้มันได้อาหาร เพื่อตัดสายสัมพันธ์ระหว่างคนกับปลาฉลามขาวออกจากกัน ซึ่งนโยบายนี้ได้ถูกนำเสนอไปที่ทางรัฐบาล ธุรกิจทัวร์ปลาฉลามขาวทำกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ เมื่อเทียบกับการทำประมงที่มีรายได้จำกัด กรามของปลาฉลามขาวคู่เดียว มีค่าถึง 20000 ยูโร เป็นรายได้ที่สูงมากเมื่อเทียบกับการทำประมงต่อวัน อย่างไรก็ตามสัตว์ที่ตายแล้ว ก็ทำได้เพียงเศษเงินเมื่อเทียบกับสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ทัวร์ปลาฉลามขาวเป็นธุรกิจที่มั่นคงกว่า และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น ตัวอย่าง ของบริษัททัวร์บริษัทหนึ่ง ซึ่งมีเรืออยู่ในสังกัด 6 ลำ เรือแต่ละลำบรรทุกคนได้ราว 30 คนต่อวัน ถ้าคนหนึ่งต้องจ่ายค่าชมราวๆ 50 ยูโรถึง 150 ยูโร ดังนั้นในเวลา 1 วัน บรรดาฉลามที่มาแวะเวียนที่เรือนี้ จะทำกำไรให้พวกเขามากถึง 9000 ยูโรถึง 27000 ยูโรต่อเรือแต่ละลำ [แก้]ดูเพิ่ม เมกะโลดอน [แก้]อ้างอิง ข้อมูลอุณหภูมิของฉลาม สรุปรายงานการวิจัยการเลือกเหยื่อของปลาฉลามขาว

แพนด้ายักษ์

แพนด้ายักษ์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี แพนด้ายักษ์ (Giant Panda) ช่วงช่วง, แพนด้ายักษ์ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ สถานะการอนุรักษ์ ใกล้สูญพันธุ์ (IUCN 3.1) การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Animalia ไฟลัม: Chordata ชั้น: Mammalia อันดับ: Carnivora วงศ์: Ursidae สกุล: Ailuropoda Milne-Edwards สปีชีส์: A. melanoleuca ชื่อวิทยาศาสตร์ Ailuropoda melanoleuca (David, 1869) สปีชีส์ย่อย A. melanoleuca melanoleuca A. melanoleuca qinlingensis ถิ่นที่อยู่อาศัยของแพนด้ายักษ์ แพนด้ายักษ์ หรือไจแอนท์แพนด้า (Ailuropoda melanoleuca) คนไทยนิยมเรียกหมีแพนด้า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์หมี (Ursidae) ถิ่นอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน [1] อาหารโปรดของแพนด้ายักษ์คือใบไผ่ นอกนั้นจะเป็นหญ้าชนิดอื่น ๆ ลักษณะเฉพาะของแพนด้ายักษ์คือมีขนสีดำรอบดวงตา, ใบหู, บ่า และขาทั้งสี่ข้าง ส่วนอื่นประกอบด้วยขนสีขาว ปัจจุบันแพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสัตว์สายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดสายพันธุ์หนึ่งของโลก ตามรายงานล่าสุด[2] มีแพนด้าที่เลี้ยงในกรงเลี้ยง 239 ตัวอยู่ในจีน และอีก 27 ตัวอยู่ในต่างประเทศ มีการคาดการณ์ไว้ว่ามีแพนด้ายักษ์ประมาณ 1,590 ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ[2] อย่างไรก็ดี จากการศึกษาในปี พ.ศ. 2549 ผ่านการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ สามารถประมาณการได้ว่าอาจจะมีแพนด้ายักษ์เป็นจำนวนถึง 2,000-3,000 ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ[3] ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำนวนแพนด้าตามธรรมชาติเพิ่มจำนวนขึ้น[4][5] สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติเชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวยังไม่มีความแน่นอนพอที่จะย้ายชื่อแพนด้ายักษ์ออกจากบัญชีรายชื่อสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์[6] [แก้]ลักษณะทั่วไป แพนด้ายักษ์มีถิ่นอาศัยอยู่ตามพื้นที่ภูเขา เช่น มณฑลเสฉวน ซานซี กานซูและทิเบต แพนด้ายักษ์เป็นสัญลักษณ์ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund:WWF) องค์กรด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ตั้งแต่ช่วงหลังของศตวรรษที่ 20 แพนด้าได้กลายเป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศจีน และรูปภาพของมันได้อยู่บนเหรียญทองของจีน ถึงแม้พวกมันจะจัดอยู่ในวงศ์ของหมี แต่พฤติกรรมการกินของมันแตกต่างจากหมีโดยสิ้นเชิง แพนด้าเป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหาร โดย 99% ของอาหารที่มันกินคือไผ่ แต่บางทีอาจพบว่ามันก็กินไข่ ปลา และแมลงบางชนิดในไม้ไผ่ที่มันกิน นี่เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ หลายสิบปีที่ผ่านมา การจัดจำแนกสายพันธุ์ที่แน่นอนของแพนด้ายังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แพนด้ายักษ์และแพนด้าแดงซึ่งเป็นญาติสายพันธุ์ห่าง ๆ กัน และยังมีลักษณะพิเศษที่เหมือนทั้งหมีและแรคคูน อย่างไรก็ตาม การทดลองทางพันธุกรรมบ่งบอกว่าแพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของหมี (วงศ์ Ursidae) หมีที่สายพันธุ์ใกล้เคียงที่สุดของแพนด้าคือหมีแว่นของอเมริกาใต้ (ข้อขัดแย้งที่ยังคงเป็นที่สงสัยอยู่คือแพนด้าแดงนั้นอยู่ในวงศ์ใด เป็นที่ถกเถียงว่าอาจจะอยู่ในวงศ์หมี (Ursidae), วงศ์แรคคูน, วงศ์โพรไซโอนิดี้ (Procyonidae), หรืออยู่ในวงศ์เฉพาะของมันเอง ไอเลอริดี้ (Ailuridae)) แพนด้าเป็นสัตว์สปีชีส์ที่ถูกคุกคามหรืออยู่ในอันตรายต่อการสูญพันธ์ ทั้งนี้มาจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่จากการบุกรุกของมนุษย์ อัตราการเกิดต่ำทั้งในป่าและในกรงเลี้ยง เชื่อว่ามีแพนด้ายักษ์เพียง 1,600 ตัว อาศัยอยู่รอดในป่า หมีแพนด้ามีอุ้งตีนที่ผิดจากธรรมดา คือมีนิ้วหัวแม่มือ และมีนิ้วอีก 5 นิ้ว นิ้วหัวแม่มือที่จริงแล้วมาจากการปรับปรุงรูปแบบของกระดูกข้อต่อ สตีเฟน เจย์ กาวลด์ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ โดยมีชื่อเรื่องว่า The Panda's Thumb หรือ นิ้วหัวแม่มือของแพนด้า หางของแพนด้ายักษ์นั้นสั้นมาก โดยมีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร เกาเกา, แพนด้าเพศผู้ที่สวนสัตว์ซานดิเอโก แพนด้ายักษ์ เป็นที่รู้จักในตะวันตกเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2412 โดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส อาร์มันด์ เดวิด ผู้ซึ่งได้รับหนังของแพนด้ามาจากนายพรานเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2412 ส่วนชาวตะวันตกคนแรกที่เป็นที่รู้จักว่าเห็นแพนด้ายักษ์ที่ยังมีชีวิตคือนักสัตว์วิทยาเยอรมัน ฮิวโก เวยโกลด์ เขาซื้อลูกของมันมาในปี พ.ศ. 2459 เคอร์มิท และ ธีโอดอร์ รูสเวลท์ จูเนียร์ ได้เป็นชาวต่างชาติแรก ที่ยิงแพนด้าในการเดินทางศึกษาที่ประเทศจีน เพื่อนำไปสตัฟฟ์และใช้ในการศึกษาที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ฟิลด์ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ในปี พ.ศ. 2479 รุธ ฮาร์คเนส เป็นชาวตะวันตกคนแรก ที่นำเข้าแพนด้ายักษ์ที่มีชีวิตมายังสหรัฐฯ เป็นลูกแพนด้าชื่อซู-ลิน โดยนำมาเลี้ยงที่สวนสัตว์บรูคฟิลด์ในชิคาโก แพนด้ายักษ์ถือเป็นสัญลักษณ์ทางการทูตอย่างหนึ่งของจีน จะเห็นได้ว่าจีนส่งหมีแพนด้าไปยังสวนสัตว์สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยการให้ยืม ซึ่งเป็นเครื่องหมายการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนและชาติตะวันตก การปฏิบัติเป็นธรรมเนียมเช่นนี้ทำให้มีคนเรียกแพนด้าว่า "ทูตสันถวไมตรี" อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ไม่มีการใช้หมีแพนด้าในฐานะทูตสันถวไมตรีอีกต่อไป แต่จีนมีการเสนอที่จะส่งแพนด้ายักษ์ไปยังชาติอื่นโดยให้ยืมเป็นเวลา 10 ปี โดยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมพื้นฐานปีละ 1,000,000 เหรียญสหรัฐ และมีข้อกำหนดว่าลูกของแพนด้ายักษ์ใด ๆ ที่เกิดระหว่างการยืมนั้น ถือเป็นทรัพย์สินของสาธารณรัฐประชาชนจีน [แก้]ดูเพิ่ม สถานีย่อย:โลกของสัตว์ คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ: แพนด้ายักษ์ [แก้]อ้างอิง ^ "Global Species Programme – Giant panda". กองทุนสัตว์ป่าโลก. 14 พ.ย. 2550. http://panda.org/about_wwf/what_we_do/species/our_solutions/endangered_species/giant_panda/index.cfm. เรียกข้อมูลเมื่อ 22 ก.พ. 2551. ^ 2.0 2.1 "Number of pandas successfully bred in China down from last year", ซินหัว, 8 พ.ย. 2550. สืบค้นวันที่ 22 ก.ค. 2551 ^ "Hope for future of giant panda", บีบีซีนิวส์, 20 มิ.ย. 2549. สืบค้นวันที่ 14 ก.พ. 2550 ^ Giant panda gives birth to giant cub ^ Warren, Lynne. "Pandas, Inc.", เนชันแนลจีโอกราฟิก, ก.ค. 2549. สืบค้นวันที่ 10 เม.ย. 2551 ^ "Concern grows for smallest bear", บีบีซีนิวส์, 12 พ.ย. 2550. สืบค้นวันที่ 22 ก.ค. 2551

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หน่วยการเรียนรู้ที่1ระบบเลขฐานและตรรกศาสตร์

หน่วยท 1 ่ี ระบบเลขฐานและรหัส สาระการเรียนรู้ 1.1 ระบบเลขฐานสิบ ฐานสองฐานแปดและฐานสิบหก 1.2 การแปลงเลขฐานสิบ ฐานสองฐานแปดและฐานสิบหก 1.3 การคานวณเลขฐานสอง ํ 1.4 การคอมพลีเมนตเลขฐานสอง ์ 1.5 รหสในระบบด ั ิจิตอล 1.6 รหสบั ีซีดี 1.7 รหสเก ั ิน 3 1.8 รหสเกรย ั ์ 1.9 รหสแอสก ั ี สาระสําคญั ระบบตัวเลขท่ีใช้ในระบบดิจิตอลเราใช้ระบบตัวเลขฐานสองมาเปรียบเทียบ การทางานพ ํ ้ืนฐานของระบบดิจิตอล เน่ืองจากมีการทางานเพ ํ ียงสองสภาวะคือ สภาวะลอจิก 0 กบสภาวะลอจ ั ิก 1 แต่ในเชิงคณิตศาสตร์ระบบเลขฐานทุกฐานมีความสัมพนธั ์เช่ือมโยงกนั เช่น ฐานสองสามารถแปลงเป็นเลขฐานสิบ ฐานสองแปลงเป็นเลขฐานแปด หรือฐานสองแปลง เป็น เลขฐานสิบหกได้และเม่ือนําเลขฐานสองจัดเป็นกลุ่มหรือจดเป ั ็นชุดเพ่ือใช้แทนอกษร ั , สญลั กษณ ั ์หรือเคร่ืองหมายต่างๆแลวเราเร ้ ียกวา่ “รหสั ” สมรรถนะทพ่ีงประสงค ึ ์ 1. บอกสญลั กษณ ั ์ระบบเลขฐานสองฐานแปดและฐานสิบหกได้ 2. แปลงเลขฐานระหวาง่ ฐานสิบ ฐานสองฐานแปดและฐานสิบหกได้ 3. คานวณเลขฐานสองได ํ ้ 4. สามารถลบเลขฐานสองโดยวธิีการคอมพลีเมนตได์ ้ 5. อธิบายรหสบั ีซีดีได้ 6. อธิบายรหสเก ั ิน 3 ได้ 7. อธิบายรหสเกรย ั ได์ ้ 8. อธิบายรหสแอสก ั ีได้ 9. แต่งกายถกระเบ ู ียบ ใชวาจาส ้ ุภาพ ขยนใฝ ั ่รู้รับผดชอบ ิ ทางานร ํ ่วมกบผั อู้่ืนได้ ใบความรู้ เร่ืองระบบเลขฐานและรหัส บทนํา คณิตศาสตร์ถือเป็นวิชาหลกของท ั ุกวิชาเพราะทุกวิชาในโลกน้ีตองเก ้ ่ียวของก ้ บวั ิชา คณิตศาสตร์หรือวิชาเลขท่ีเรารู้จกกั นดั ี มนุษยจะต ์ ิดต่อส่ือสารกนในเช ั ิงคณิตศาสตร์ดวยเลข ้ ฐานสิบ แต่ในระบบดิจิตอลเราจะเทียบการทางานของระบบด ํ วยเลขฐานสอง ้ ซ่ึงประกอบดวยเลข ้ 0 และ 1 และยงนั าเลขฐานอ ํ ่ืนมาใชอ้ีกเช่น เลขฐานแปดเลขฐานสิบหกเพราะเลขฐานเหล่าน้ี สามารถเปล่ียนเลขฐานถึงกนได ั ้รวมท้งมั ีการจบชั ุดเลขฐานสองเป็นชุด หรือเป็นกลุ่มเพ่ือแทน ตวเลข ั อกขระ ั หรือสญลั กษณ ั ์อ่ืนๆ เราเรียกวา่ “รหสั ” 1.1 ระบบเลขฐานสิบ ฐานสองฐานแปด และฐานสิบหก ระบบตัวเลขและตัวอักษรถูกมนุษย์พัฒนาข้ึน ตามยุคตามสมัย จนถึงปัจจุบัน เรามีระบบตวเลขและต ั วอั กษรท ั ่ีเป็นสากลไวส้่ือสารระหว่างกนั และมนุษยก์ ็นาเอาศาสตร ํ ์ดานน ้ ้ี มาพฒนาสร ั ้าง เทคโนโลยีใหม่ๆเพ่ือให้ชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองดีข้ึน ระบบตวเลขท ั ่ีเราใช้ คานวณในช ํ ีวิตประจาวํ นเราใช ั ต้วเลข ั 10 ตวประกอบด ั วย้ เลข 0 – 9 เรียกว่าระบบเลขฐานสิบ เป็นระบบตวเลขท ั ่ีมนุษยท์ ุกคนเขาใจ ้ แต่สัญญาณทางไฟฟ้าเชิงดิจิตอลเม่ือเทียบกบการท ั างาน ํ ของสวิตช์วงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่นทรานซิสเตอร์จะมีการทางาน ํ 2 สภาวะ คือ ON กบั OFF มนุษยจ์ึงเช่ือมโยงเลขฐานสองซ่ึงมีตวเลขสองต ั วคั ือ 0 กบั 1 เขาก้ บสภาวะ ั ดงกล ั ่าวโดยสภาวะ ON จะแทนดวย้ 1 และสภาวะ OFF จะแทนดวย้ 0 สาหร ํ ับในวงจรท่ีมีขนาดใหญ่และมีการทางานท ํ ่ีสลบซั บซั อนจะน ้ าเอาเลขฐานสอง ํ มาใชจะไม ้ ่สะดวกจึงนาเอาเลขฐานอ ํ ่ืนมาใช้เช่น เลขฐานแปดเลขฐานสิบหกเป็นตน้ ซ่ึงผทู้ ่ีสนใจ ดานน ้ ้ีจะตองเร ้ ียนรู้และเขาใจระบบเลขฐานด ้ งกล ั ่าวจึงจะมีความเขาใจพ ้ ้นฐานด ื านด ้ ิจิตอลมากข้ึน