จํานวนผู้เข้าชม

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

หลักการทํางานของคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ไอซีที

การใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปี พ.ศ. 2548
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT ย่อจาก information technology) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
ในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)
[แก้] อ้างอิง
ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
พิเศษ:เรื่องที่เขียน/202.143.153.157202.143.153.157]] 08:44, 9 มิถุนายน 2553 (ICT) งง
[แก้] ดูเพิ่ม
วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer science)
วิทยาการสารสนเทศ (Information science)
ความปลอดภัยของข้อมูล (Information security)
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
ห้องสมุดดิจิทัล (Digital library)
การจดจำรูปแบบ (Pattern Recognition)
การจัดการข้อมูล (Data management)
การประมวลผลข้อมูล (Data processing)
การทำเหมืองข้อมูล (Data mining)
ข้อมูลของข้อมูล (Metadata)
การเก็บข้อมูล (Data storage)
ฐานข้อมูล (Database)
ข่ายงานข้อมูล (Data networking)
การประเมินเทคโนโลยี (Technology assessment)
วิทยาการเข้ารหัสลับ (Cryptography)
ITIL
ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือ เครือข่าย ที่ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยแก้ไขเพิ่มเติมได้ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เทคโนโลยีสารสนเทศ
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8".
หมวดหมู่: เทคโนโลยีสารสนเทศ บทความเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์
เครื่องมือส่วนตัว
คุณลักษณะใหม่
ล็อกอิน / สร้างบัญชีผู้ใช้
เนมสเปซ
บทความ
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
เนื้อหา
แก้ไข
ประวัติ
การกระทำ
สืบค้น



ป้ายบอกทาง
หน้าหลัก
เหตุการณ์ปัจจุบัน
ถามคำถาม
บทความคัดสรร
บทความคุณภาพ
สุ่มเนื้อหา
มีส่วนร่วม
ศาลาประชาคม
ปรับปรุงล่าสุด
เรียนรู้การใช้งาน
ติดต่อวิกิพีเดีย
บริจาคให้วิกิพีเดีย
วิธีใช้
พิมพ์/ส่งออก
สร้างหนังสือ
ดาวน์โหลดในชื่อ PDF
หน้าสำหรับพิมพ์
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
ปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
อัปโหลด
หน้าพิเศษ
ลิงก์ถาวร
อ้างอิงบทความนี้
ภาษาอื่น
Afrikaans
Aragonés
العربية
مصرى
Azərbaycanca
Български
Bosanski
Català
Česky
Dansk
Deutsch
Ελληνικά
English
Esperanto
Eesti
Euskara
فارسی
Suomi
Galego
Gaelg
עברית
हिन्दी
Hrvatski
Magyar
Հայերեն
Bahasa Indonesia
Íslenska
日本語
ქართული
Қазақша
ಕನ್ನಡ
한국어
ລາວ
Lietuvių
Latviešu
മലയാളം
Bahasa Melayu
Mirandés
မြန်မာဘာသာ
Nederlands
‪Norsk (nynorsk)‬
‪Norsk (bokmål)‬
Polski
Português
Română
Русский
Саха тыла
سنڌي
සිංහල
Simple English
Slovenčina
Slovenščina
Shqip
Српски / Srpski
Svenska
தமிழ்
Türkçe
Українська
O'zbek
Tiếng Việt
Winaray
中文
粵語
หน้านี้แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2553 เวลา 20:13 น.
อนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน; เงื่อนไขอื่นอาจใช้ประกอบด้วย โปรดศึกษาเงื่อนไขการใช้งานWikipedia® เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของมูลนิธิวิกิมีเดีย
ติดต่อเรา
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เกี่ยวกับวิกิพีเดีย
ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์

แนะนำโปรแกรมเกี่ยวกับ ความปลอดภัย สำหรับคอมพิวเตอร์
Menu
หน้าหลัก เวปบอร์ด อัปเดท Windowsไวรัสและความปลอดภัย ค้นหา files torrent ราคาอุปกรณ์computer ความรู้เกี่ยวกับ torrent ทดสอบความปลอดภัย Virus remove tool Wallpaper Download program แนะนำโปรแกรมใหม่ ข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยี ติดต่อเรา





Mcafee Quick Clean เป็นโปรแกรมลบขยะในเครื่องคอมพิวเตอร์ ประเภท ไฟล์ Temp และ History และขยะ พร้อม คุ๊กกี้ หลังจากเราเข้าไปเวปต่างๆ ที่แอบฝังตัวเข้ามาในเครื่องเราทุกครั้งเพื่อป้องกัน คนอื่นแอบเช็คข้อมูลที่เราเคยไปเวปใหนมา ทำให้เครื่อง เบาไปได้เยอะแนะนำ เป็นโปรแกรมที่น่ามีประดับเครื่อง 31/03/06
Mcafee Spam Killer เวลารับเมลย์ น่ารำคาญใจมากที่ต้องมานั่งลบ บรรดา จดหมาย สแปม หรือจดหมายขยะ ที่ส่งเข้ามาจน Mail Box แทบระเบิด โปรแกรมนี้ จะจัดการลบสแปมออกให้เรา และถ้ามี สแปมใหม่ๆ เราสามารถ เพิ่มรายชื่อเข้าไปได้ 31/03/06
Mcafee Fire Wall ไม่ต้องอธิบายนะครับ ว่าเป็นอะไร เป็นโปรแกรมที่ เป็น ปราการ ป้องกันบุคคลไม่พึงประสงค์ เข้ามาเจาะข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ของเรา ยิ่งทุกวันนี้ บรรดาพวก แฮกเกอร์ ผุดขึ้นมาราวดอกเห็ด รวมทั้งพวก ร้อนวิชาทั้งหลาย ถ้าใครไม่มี Fire wall ต้องรีบหามาใช้ เลยนะครับ เพราะ บรรดา สมาชิกของเราหลายคน เข้ามาปรึกษาปัญหากับเรา ล้วนแต่ละเลยเรื่องนี้กันหลายท่าน 31/03/06
Mcafee Spyware คงต้องรับ กันละว่าเวลาเราเข้าเวป แปลกๆ คนคงจะได้ อะไรแถมมาในเครื่องกัน สปายแวร์ นี่แหละ เป็นของแถมที่อันตราย เพราะมัน จะแอบเจาะ แอบล้วง ข้อมูล หรืออะไรในเครื่องของคุร แล้วส่งไปให้คนที่ เขียน โปรแกรมหรหรือ สคริปนี้ โปรแกรมนี้จะจัดการ ลบออกให้คน และคอยสอดส่อง ว่ามีสิ่งแปลกปลอมในเครื่องคุณหรือไม่ 31/03/06
Mcafee Anitvirus โปรแกรม แอนตี้ไวรัส ที่เป็นชุดขายแยก ออกมาสำหรับ คนที่งบประมาณน้อย ไม่สามารถซื้อชุด Mcafee Internet Security-suit 2006 ได้ คุณสมบัติ และชื่อเสียงของ Mcafee คงไม่ต้องอธิบาย ว่าดีแค่ใหน ถ้าตัดสินใจไม่ได้ว่าจะใช้แอนตี้ไวรัสของอะไรดี Mcafee ตัวนี้เป็นตัวเลือกที่ดี ทีเดียวที่จะมีประจำเครื่องของคุณ 31/03/06
Mcafee Internet Security-suit 2006 โปรแกรม แอนตี้ไวรัส ยอดนิยมที่มีคนใช้กันมากพอสมควรการจับไวรัสดี มีทั้ง Fire wall , Spam killer Privacy Service เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัว เรียกว่ามีครบครัน แต่ถ้าเทียบกับ Trend แล้ว ทางค่าย Mcafee จะขายฟังชั่นแยกต่างหาก ออกจาก กัน เพื่อที่เราจะได้ซื้อ ฟังชั่นที่เราต้องการมาใช้ตามความเป็นจริง 31/03/06
โปรแกรม Fileshell ซึ่งมีคุณสมบัติในการล็อกไฟล์ข้อมูลส่วนตัว หรือ ไฟล์ข้อมูลที่ต้องการป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่พึงประสงค์เปิดดูข้อมูลได้ เหมาะสำหรับ ป้องกัน Files ที่เป็นความลับ ไม่ต้องการให้คนอื่นเปิดดู โดย Files shell Version 4.0 ได้ เปิดให้ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี คลิ๊กที่นี่ เพื่อดาวน์โหลด โดยโปรแกรมนี้ พัฒนา โดย บริษัท บิทเซอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 30/03/49
Trend internet scurity 2006 เป็นโปรแกรมที่ กำจัดไวรัส และ fire wall ที่ครบครับทีเดียว พร้อมด้วย anti spyware และ mail anti spam เรียก ว่ามีโปรแกรมตัวนี้ ไม่ต้องหาโปรแกรมอะไรมาเสริมเขี้ยวเล็บ ก็ว่าได้ จากการ ทดลองใช้ E-mail ที่เป็นสแปม จะถูกลบทิ้งให้โดยอัติโนมัต และการอัปเดท ก็ไวพอสมควร 27/03/06
Trend anti spyware เป็นโปรแกรมที่ ค้นหาและ กำจัด spyware ที่แอบบฝังเข้ามาในเครื่องของเราขณะ ท่องเน็ต โดยสปายแวร์ จะแอบเข้ามาในรูปแบบ ต่างๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว และจะทำการส่งข้อมูลสำคัญในเครื่องเราไป ให้ บรรดา แฮกเกอร์ โปรแกรมนี้ จากการทดลองใช้แล้ว หลังจากเล่นเน็ต แล้ว เข้าเวปแปลกๆ จะแสกนเจอ สปายแวร์ได้ดีมาก และยังค้นเจอ คุ๊กกี้ ด้วยนับว่า เป็นโปรแกรมที่ควรมีประจำเครื่องเลยทีเดียว27/03/06
Nod32 เป็นโปรแกรม แอนตี้ไวรัส อย่างเดียว ขนาดเล็ก และที่สำคัญ ไม่ดึงทรัยพยากรเครื่อง และ ราคาถูก ประมาณ 300 บาทได้ แสกนได้ไว และจับไวรัสได้ดีทีเดียว หน้าตา การใช้งาน ดูง่าย เดาได้ไม่ยาก แต่มีข้อเสียอย่างเดียว คือ เมลย์ที่รับ และส่ง ทุกฉบับ จะมีลายเซ็นต์ ต่อท้าย ว่า แสกนด้วยโปรแกรม nod32 แถมมี ลิงค์ เวปไซต์ของโปรแกรม ติดมาซะด้วย เลยทำให้คนรับเมลย์ตกใจ เวลาได้รับเมลย์ 27/03/06
Panda antivirus เป็นโปรแกรมที่ เป็นโปรแกรมที่ กำจัดไวรัส ทำออกมาสองชนิดด้วยกันคือ ชุด ไทยทาเนี่ย และ พาลาตินั่ม ราคาก็แตกต่างกันไป ตรงที่มี Fire wall และ Antispam จากที่เคยทดลอง ใช้ จับไวรัสได้ดี ที่ ทาสก์บาร์ มีรูปแพนด้า แต่ การใช้ ความรู้สึกส่วนตัว ไม่คุ้นเคยแต่ก็ใช้ง่ายดี ราคา ก็อยู่ราวๆ 700-1000 บาท

คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร บทความที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงเลยอาจพิจารณาให้ลบ

ไอบีเอ็ม โรดรันเนอร์ - ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกผลิตโดยไอบีเอ็มและสถาบันวิจัยแห่งชาติลอสอะลาโมส (2551) [1]
คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่าหน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย
ลักษณะทางกายภาพของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลาย มีทั้งขนาดที่ใหญ่มากจนต้องใช้ห้องทั้งห้องในการบรรจุ และขนาดเล็กจนวางได้บนฝ่ามือ การจัดแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์สามารถจัดแบ่งได้ตามขนาดทางกายภาพเป็นสำคัญ ซึ่งมักจะแปลผันกับประสิทธิภาพความเร็วในการประมวลผล โดยขนาดคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้กับการคำนวณผลทางวิทยาศาสตร์ ขนาดรองลงมาเรียกว่า เมนเฟรม มักใชัในบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องมีการประมวลผลธุรกรรมทางธุรกิจจำนวนมากๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในระดับบุคคลเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่พกพาได้เรียกว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ส่วนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถวางบนฝ่ามือได้เรียกว่า พีดีเอ อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์มีใช้กันอย่างกว้างขวางมาก ซึ่งมีอุปกรณ์หลายๆชนิดได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้เป็นกลไกหลักในการทำงาน เช่น กล้องดิจิทัล เครื่องเล่นเอ็มพีสาม หรือในรถยนต์เองก็มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องยนต์
ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์โดยรวมแล้ววัดกันที่ความเร็วการประมวลผล ซึ่งตามกฏของมัวร์ (Moore's Law) คอมพิวเตอร์จะเพิ่มประสิทธิภาพเป็นเท่าทวีคูณในทุกปี
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ประวัติของคอมพิวเตอร์
2 ประเภทของคอมพิวเตอร์
2.1 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
2.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
2.3 มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)
2.4 ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC )
2.5 โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)
3 การทำงานของคอมพิวเตอร์
3.1 หน่วยประมวลผล
3.2 หน่วยความจำ
4 ตัวอย่างประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
5 อ้างอิง
6 ดูเพิ่ม
7 แหล่งข้อมูลอื่น
//
[แก้] ประวัติของคอมพิวเตอร์
ดูบทความหลักที่ ประวัติฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ อตานาซอฟฟ์-เบอร์รี หนึ่งในคอมพิวเตอร์ที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ในรูปเป็นเครื่องจำลองตั้งอยู่ที่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต
เป็นเรื่องยากที่จะชี้ชัดลงไปว่าอุปกรณ์ใดจัดเป็นคอมพิวเตอร์ยุคแรก ๆ เพราะคำว่า "คอมพิวเตอร์" เองก็มีการตีความเปลี่ยนไปมาอยู่เสมอ แต่จุดเริ่มของคำนี้หมายถึงคนที่ทำหน้าที่เป็นนักคำนวณในสมัยนั้น
ช่วงปี ค.ศ. 1930 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1940 เป็นช่วงที่โลกได้มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถโปรแกรมได้และคำนวณผลลัพธ์ได้มีประสิทธิภาพจริง แต่เป็นการยากที่จะตัดสินได้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกENIAC (Electronics Numerical Integrator and Computer) เกิดขึ้นในปี1946 และประดิษฐ์โดย จอห์น ดับลิว มอชลีย์ (John W. Mauchly) และ เจ เพรสเพอร์ เอคเกิรต (J. Prespern Eckert) ทำงานโดยใช้หลอดสุญญากาศจำนวน 18,000 หลอด มีน้ำหนัก 30 ตัน ใช้เนื้อที่ห้อง 15,000 ตารางฟุต เวลาทำงานต้องใช้กำลังไฟถึง 140 กิโลวัตต์ คำนวณในระบบเลขฐานสิบ
ค.ศ. 1941 เป็นครั้งแรกที่โลกได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างอิสระ ผู้พัฒนาคือ Konrad Zuse และชื่อคอมพิวเตอร์คือ Z1 Computer
ค.ศ. 1941 จอห์น อตานาซอฟฟ์ และ คลิฟฟอร์ด เบอร์รี ที่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต ได้ร่วมกันสร้าง คอมพิวเตอร์ อตานาซอฟฟ์-เบอร์รี ซึ่งสามารถประมวลผลเลขฐานสอง
ค.ศ. 1944 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้ร่วมกันสร้างอีนิแอก ซึ่งใช้หลอดสูญญากาศจำนวน 20,000 หลอด เพื่อสร้างหน่วยประมวลผล และถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกสำหรับการใช้งานทั่วไป โดยมีการประมวลผลแบบทศนิยม โดยหากต้องการตั้งโปรแกรมจะต้องต่อสายเชื่อมต่อเครื่องอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด
ค.ศ. 1948 Frederic Williams และ Tom Kilburn สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ หลอดรังสีคาโทด เป็นหน่วยความจำ
ค.ศ. 1947 ถึง 1948 John Bardeen, Walter Brattain และ Wiliam Shockley สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทราสซิสเตอร์ ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ
ค.ศ. 1951 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้พัฒนา UNIVAC Computer ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีการขาย
ค.ศ. 1953 ไอบีเอ็ม (IBM) ออกจำหน่าย EDPM เป็นครั้งแรก และเป็นก้าวแรกของไอบีเอ็มในธุรกิจคอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1954 John Backus และ IBM ร่วมกันสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ชื่อ FORTRAN ซึ่งเป็นภาษาระดับสูง (high level programming language) ภาษาแรกในประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1955 (ใช้จริง ค.ศ. 1959) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด, ธนาคารแห่งชาติอเมริกา, และ บริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก ร่วมกันสร้าง ERMA และ MICR ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในธุรกิจธนาคาร
ค.ศ. 1958 Jack Kilby และ Robert Noyce เป็นผู้สร้าง Integrated Circuit หรือ ชิป (Chip) เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1962 สตีฟ รัสเซลล์ และ เอ็มไอที ได้พัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกของโลกชื่อว่า "Spacewar"
ค.ศ. 1964 Douglas Engelbart เป็นผู้ประดิษฐ์เมาส์ และ ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์
ค.ศ. 1969 เป็นปีที่กำเนิด ARPAnet ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ต
ค.ศ. 1970 อินเทล พัฒนาหน่วยความจำชั่วคราวของคอมพิวเตอร์หรือ RAM เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1971 Faggin, Hoff และ Mazor พัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ตัวแรกของโลกให้อินเทล (Intel)
ค.ศ. 1971 Alan Shugart และ IBM พัฒนา ฟลอปปี้ดิสก์ เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1973 Robert Metcalfe และ Xerox ได้พัฒนาระบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet) สำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1974 ถึง ค.ศ. 1975 Scelbi และ Mark-8 Altair และ IBM ร่วมกันวางจำหน่ายคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้รายย่อยเป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1976 ถึง ค.ศ. 1977 ถือกำเนิด Apple I, II และ TRS-80 และ Commodore Pet Computers ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกๆ ของโลก
ค.ศ. 1981 ไมโครซอฟท์ วางจำหนาย MS-DOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมที่สุดในช่วงนั้น
ค.ศ. 1983 บริษัทแอปเปิล ออกคอมพิวเตอร์รุ่น Apple Lisa ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ระบบ GUI
ค.ศ. 1984 บริษัทแอปเปิล วางจำหน่ายคอมพิวเตอร์รุ่น แอปเปิล แมคอินทอช ซึ่งทำให้มีการใช้คอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง
ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์ วางจำหน่าย ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เป็นครั้งแรก
[แก้] ประเภทของคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้
[แก้] ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน
[แก้] เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก
[แก้] มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)
มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น
[แก้] ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC )
ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น อาทิเช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า
[แก้] โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)
โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ
[แก้] การทำงานของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆเช่น ENIAC เวลาโปรแกรมต้องใช้วิธีการเปลี่ยนสายเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่ยุ่งยากมาก จึงเกิดแนวคิดว่าตัวโปรแกรมน่าจะจัดเก็บอยู่ในส่วนที่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ง่าย เป็นที่มาของแนวคิดที่ทำการจัดเก็บข้อมูลต่างๆรวมถึงโปรแกรมไว้ใน หน่วยความจำ หรือ memory ทำให้คอมพิวเตอร์จะได้รับคำสั่งโดยการอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำ และการปรับเปลี่ยนโปรแกรมสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงค่าภายในหน่วยความจำ
แนวคิดข้างต้นรู้จักในชื่อว่า "Stored-Program Concept" หรือ อีกชื่อว่าสถาปัตยกรรม von Neumann โดยเข้าใจว่า J. Presper Eckert และ John William Mauchly ซึ่งเป็นนักออกแบบ ENIAC เป็นผู้คิดค้นขึ้น
แนวคิดการทำงานแบบ Stored-Program ถูกใช้เป็นแนวคิดหลักของการทำงานในคอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบัน โดยแนวคิดนี้จะแบ่งการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็น 4 ส่วนหลักได้แก่
หน่วยประมวลผลในรูปแบบข้อมูล Binary หรือที่เรียกว่า Arithmetic-Logical Unit (ALU) เป็นการทำงานโดยเลขฐาน 2 เปรียบเสมือนหัวใจของคอมพิวเตอร์ หน้าที่หลักของมันคือทำการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานอันได้แก่การบวกและลบ และการทำการเปรียบเทียบข้อมูลสองข้อมูลว่ามีค่าเท่ากันหรือไม่ถ้าไม่จะมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่า
หน่วยความจำ หรือ Memory ใช้สำหรับเก็บข้อมูล (Data) และ คำสั่ง (Instructions) โดยข้อมูลภายในหน่วยความจำจะถูกแบ่งเป็นส่วนๆเล็กๆเท่าๆกัน แต่ละส่วนมีที่อยู่ (address) เพื่อใช้เข้าถึงข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเอาไว้
อุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต หรือ I/O Device เป็นส่วนที่ใช้นำข้อมูลจากโลกภายนอกเข้ามาภายในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาประมวลผล และเมื่อได้ผลลัพธ์ก็จะนำข้อมูลที่ได้มาแสดงผลให้โลกภายนอกคอมพิวเตอร์ได้รับทราบ
หน่วยควบคุมการทำงาน หรือ Control Unit เป็นส่วนที่ใช้เชื่อมต่อแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน หน้าที่หลักๆคือทำการอ่านข้อมูลคำสั่งที่อยู่ภายในหน่วยความจำหรือที่ได้จากอุปกรณ์อินพุต ทำการแปลความหมายและส่งไปประมวลผลใน ALU จากนั้นนำผลที่ได้ไปจัดเก็บในหน่วยความจำหรืออุปกรณ์เอาต์พุต หน้าที่หลักอีกประการ คือควบคุมลำดับการทำงานของแต่ละขั้นตอนให้อยู่ในเวลาที่เหมาะสม
[แก้] หน่วยประมวลผล
การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยประมวลผล จะรับคำสั่งและข้อมูลจากหน่วยความจำ โดยส่งเข้าที่ Queue Prefetch Unit จะตรวจสอบว่า ค่าใน Queue เป็นคำสั่งหรือไม่ ถ้าเป็นคำสั่งจะสั่งให้ Bus Interface Unit (BIU) ส่งค่าของคำสั่งไปที่ Decode Unit ถ้าเป็นค่าที่อยู่ (Address) ของหน่วยความจำ จะถูกส่งไปที่ Segment and Paging Unit Segment and Paging Unit จะแปลงที่อยู่ของหน่วยความจำ จากที่อยู่เสมือน (Virtual Address) ในรูปแบบของ segment : offset ให้กลายเป็นที่อยู่จริง (Physical Address) ที่ Bus Interface Unit เข้าใจ หน่วยถอดรหัส (Decode Unit) จะตรวจสอบและแยกแยะคำสั่ง แล้วแปลคำสั่ง และส่งสัญญาณควบคุมไปให้ Execution Unit ทำงานตามคำสั่งนั้นใน Execution Unit จะประกอบด้วย
Control Unit (CU) จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานภายในโปรเซสเซอร์เป็นตัวสั่งงาน Unit อื่นๆตามคำสั่งที่แปลจาก Decode Unit Protection Test Unit จะป้องกันและตรวจสอบการทำงานของส่วนต่างๆ ไม่ให้ทำผิดกฏเกณฑ์ จนเกิดข้อผิดพลาดขึ้น Register จะทำหน้าที่เก็บค่าชั่วคราวก่อนและหลังการประมวลเพื่อส่งให้ส่วนอื่นๆต่อไป เป็นเหมือนกระดาษทดชัว่คราว สำหรับ ALU Arithmetic Logic Unit (ALU) เป็นส่วนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และหาค่าตรรกะของการเปรียบเทียบ
เมื่อ ALU คำนวณหรือเปรียบเทียบค่าเรียบร้อยแล้ว จะส่งไปเก็บไว้ที่ Register แล้ว Control Unit จะสั่งให้ BIU เก็บค่าผลลัพธ์ลงในหน่วยความจำ โดยแปลงที่อยู่เสมือนที่ Control Unit กำหนด ให้กลายเป็น ที่อยู่จริงของหน่วยความจำที่จะนำผลลัพธ์ไปเก็บไว้
[แก้] หน่วยความจำ
หน่วยความจำเป็นพื้นที่การทำงานและเป็นพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เพราะคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามลำพังโดยอาศัยเพียงหน่วยประมวลผลหลักได้ หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ หน่วยความจำชั่วคราว หรือ หน่วยความจำสำรอง คือ แรม (RAM: Random Access Memory) โดยแรมจะเป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน และจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง อีกชนิดหนึ่งคือหน่วยความจำถาวร หรือหน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง
[แก้] ตัวอย่างประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มีประโยชน์กับเรามากมาย เช่น
การใช้งานภาครัฐ งานทะเบียนราษฎร์ของรัฐบาล เช่น การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน งานภาษี เช่น ยื่นแบบประเมินภาษีภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต เก็บทะเบียนประวัติผู้เสียภาษี ตรวจสอบการเสียภาษี
งานสายการบิน การสำรองที่นั่งผู้โดยสาร การลดงานเอกสาร
ทางด้านการศึกษา สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนออนไลน์ให้กับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
ธุรกิจการนำเข้าสินค้าและส่งออก การทำธุรกิจแบบพานิชอิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจธนาคาร ช่วยด้านงานข้อมูลธนาคาร รับ-จ่ายเงิน เก็บประวัติลูกค้า ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ
วิทยาศาสตร์และการแพทย์ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาของคนไข้ วิจัย คำนวณ และ การจำลองแบบ
งานสถาปนิก ช่วยออกแบบ เขียนแบบ หรือทำแบบจำลองสามมิติ
งานภาพยนตร์ การ์ตูน แอนิเมชัน ช่วยสร้างตัวการ์ตูนเคลื่อนไหว ออกแบบตัวการ์ตูน จำลองตัวการ์ตูนสามมิติ การตัดต่อภาพยนตร์
งานด้านสถิติ ช่วยเก็บบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ จำลองแบบข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูล
ด้านสันทนาการ ช่วยให้ความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะ เล่นเกม
[แก้] อ้างอิง
^ Government unveils world's fastest computer จากซีเอ็นเอ็น
^ ศัพท์ที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติและไม่ได้บัญญัติ (๒) โดย รศ. ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ
^ ศัพท์วิทยาศาสตร์ราชมงคล
[แก้] ดูเพิ่ม

คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:คอมพิวเตอร์
ประวัติฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิทยาการคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีสารสนเทศ
สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการ
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ จาก SchoolNet คลังความรู้บนเว็บ รวม ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ประวัติ สารสนเทศ และ สถาปัตยกรรมไมโครโปรเซสเซอร์
ความรู้เกี่ยวพร้อมประวัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จากเนคเทค
ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซีซีเอสคอม

ข้อมูลสารสนเทศ

ตรวจสอบข้อมูลพื้นฐาน ปี 52ระบบตรวจสอบรหัสโรงเรียน 10 หลัก เพื่อที่จะใช้ในโครงการ sp2 >ปี 2552ระบบตรวจสอบรหัสโรงเรียน 10 หลัก เพื่อที่จะใช้ในโครงการ sp2 ปี 2551


คู่มือการใช้โปรแกรม OBEC52 ระยะที่ 2 โปรแกรม OBEC53 9 ส.ค. 2553 คู่มือการใช้โปรแกรม OBEC52 ระยะที่ 2 บน Data Center ด่วน 24 มี.ค. 2553 - ระบบพิมพ์วุฒิบัตรออนไลน์- พิมพ์วุฒิบัตรสำหรับคณะทำงานเท่านั้น- ตัวอย่างการพิมพ์วุฒิบัตรออนไลน์


ด่วน!!! แจ้งเรื่องตัวชี้วัดคำรับรอง กพร.
ให้ตรวจสอบข้อมูล obec ระยะที่ 2 ตรงนี้นะครับว่ายืนยันครบแล้วหรือยังแจ้งให้ สพท.ว่าตัวชี้วัด 1.1.1-1.1.4 ในส่วนของ ร.ร.นอกสังกัดราย ร.ร. ให้ส่งไว้ใน ftp://202.143.174.22 และส่ง e-mail ที่ e-mail : Serm_th@hotmail.com เพื่อแจ้งว่าได้ส่งไว้ที่ ftp แล้ว
จำนวนนักเรียนจบชั้น ม.3 รายเขต จำนวนนักเรียนจบชั้น ม.3 รายโรงเรียน จำนวนนักเรียนจบชั้น ม.6 รายเขต จำนวนนักเรียนจบชั้น ม.3 รายโรงเรียน


ตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปีการศึกษา 2553
ให้ตรวจสอบข้อมูล obec ระยะที่ 2 ตรงนี้นะครับว่ายืนยันครบแล้วหรือยัง จำนวนนักเรียนที่ออกกลางคัน จำแนกตามสาเหตุ จำนวนนักเรียนที่ออกกลางคัน จำแนกตามชั้นและสาเหตุ จำนวนนักเรียนที่เรียนจบชั้น อนุบาล จำแนกตามระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน ปีการศึกษา 2552 จำนวนนักเรียนที่เรียนจบชั้น ป.3 จำแนกตามระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน ปีการศึกษา 2552 จำนวนนักเรียนที่เรียนจบชั้น ป.6 จำแนกตามระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน ปีการศึกษา 2552 จำนวนนักเรียนที่เรียนจบชั้น ม.3 จำแนกตามระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน ปีการศึกษา 2552 จำนวนนักเรียนที่เรียนจบชั้น ม.6 จำแนกตามระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน ปีการศึกษา 2552 จำนวนนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ศึกษาต่อจำแนกตามสังกัดและพื้นที่ ปีการศึกษา 2552 จำนวนนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ศึกษาต่อ ประกอบอาชีพ จำแนกตามสังกัด ปีการศึกษา 2552 จำนวนนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ศึกษาต่อ ประกอบอาชีพ จำแนกตามสังกัด ปีการศึกษา 2552


ด่วน !!!!
โปรแกรมตรวจ smis 2553 แก้ไขเมื่อ 24 พ.ค. 2553 เอกสารและคู่มือการอบรม SMIS 2553 ณ โรงแรม ชลจันทร์ พัทยา 24 พ.ค. 2553 ไฟล์ MDAC 2.8 สำหรับผู้ที่ SMIS แล้วโปรแกรมแจ้ง ERROR หา MDAC